เปิดประวัติอาถรรพ์ พิษสวาท พร้อมพิกัด 5 ที่เที่ยวตามรอยสุดปัง!!
ถึงจะเป็นหญิง แต่หน้าที่เพื่อแผ่นดินนั้นไม่ว่าใครก็พึงกระทำได้....
ประโยคเด็ดจากละครเรื่องดังและถูกพูดถึงมากที่สุดอย่างเรื่อง “พิษสวาท” ละครฟอร์มยักษ์แห่งปีทางช่อง one ซึ่งละครเรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของ ทมยันตี และได้นางเอกสาว นุ่น วรนุช มารับบท คุณอุบล นางรำหลวงที่ถูกสามี ขุนอรรค รับบทโดย ป้อง ณวัฒน์ ฆ่าตายให้เฝ้าสมบัติแผ่นดิน รู้หรือไม่คะว่า กว่าจะมาเป็นละครสุดฮิตที่ผู้คนติดและอินกันทั่วบ้านทั่วเมืองเนี่ยต้องผ่านเหตุการณ์อะไรมาบ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ากันว่าเป็นอาถรรพ์ที่ใครก็หาคำตอบไม่ได้
- พิษสวาท เป็นบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นโดยนักเขียนที่มีนามปากกาว่า ทมยันตี หรือ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ นักเขียนชั้นครูที่โลดแล่นในวงการวรรณกรรมไทยมาหลายสิบปี และมีงานเขียนในระดับขึ้นหิ้งมาแล้วมากมาย ยกตัวอย่างเช่น คู่กรรม ทวิภพ วันที่รอคอย ดั่งดวงหฤทัย พิษสวาท เป็นต้น
- หลายคนบอกว่า พิษสวาท มีเค้าโครงเรื่องคล้ายกับ Ziska ของ Mary Corelli นักเขียนยุควิกตอเรียนที่เขียนเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 1897 และมีฉบับแปลไทยเรียบร้อย โดยมีชื่อเรื่องว่า กงเกวียน เป็นฝีมือการแปลของ อมราวดี แต่คุณหญิงวิมลได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่ได้ยืมเค้าโครงเรื่องนี้มาแต่ประการใด เพราะตัวคุณหญิงนั้นสามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ แต่แปลไม่ได้นั่นเอง
- พิษสวาทถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสกุลไทยรายสัปดาห์ โดยเป็นเรื่องราวความรักข้ามภพของวิญญาณผู้เฝ้าสมบัติแผ่นดินในสมัยอยุธยาตอนปลาย ผู้เปี่ยมด้วยความรักและหน้าที่ ทำให้เกิดอาถรรพณ์ต่างๆ นานาตามมาด้วยแรงของกฏแห่งกรรมและผลลัพธ์ของการทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งอยู่ในแกนของความจงรักภักดีซื่อสัตย์ต่อชาติและแผ่นดิน
- ในขณะที่ทมยันตี หรือคุณหญิงวิมลกำลังแต่งนวนิยายเรื่องนี้ เมื่อเขียนถึงคุณอุบลหรือสโรชินีในเรื่อง คุณหญิงมักจะมองเห็นสาวงามนุ่งชุดไทยเดินอยู่ในบ้านพักอยู่บ่อยๆ ซึ่งบางครั้งก็มายืนเฝ้าคุณหญิงเขียนอยู่เงียบๆ โดยความพิเศษของสาวงามผู้นี้มักมาพร้อมกลิ่นหอมของดอกบัว คุณหญิงจึงเรียกเธอว่า “พี่บัว”
- พิษสวาท ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2514 โดย เทิ่ง สติเฟื่อง นำแสดงโดย เสาวนีย์ สกุลทอง ซึ่งหลังจากที่ถ่ายทำไปได้เพียงตอนเดียว เธอก็ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนเสียชีวิต จากนั้นแม้จะหานักแสดงคนใหม่มาแทนยังไง ก็ไม่มีใครกล้ารับเล่นบทนี้ จนทำให้ผู้สร้างต้องตัดสินใจตัดจบเรื่องราวภายใน 2 ตอน จากเดิมที่กําหนดไว้ 3 ตอนจบ หลายคนเชื่อว่านี่อาจเป็นอาถรรพ์พิษสวาทก็เป็นได้
- ต่อมาในปี 2517 (3 ปีหลังจากนั้น) พิษสวาทถูกนำมาสร้างเป็นละครวิทยุบ้าง แต่ก็ยังไม่วายเกิดเหตุการณ์สั่นสะเทือนขวัญทีมงานและผู้ที่ฟังที่กำลังสนุกสนานไปกับบทละครขึ้นมาอีกจนได้ เมื่อเกิดระเบิดไฟลุกไหม้ภายในตึกที่กำลังอัดเสียงอยู่อย่างไม่ทราบสาเหตุ แต่โชคยังดีที่ดับไฟได้ทัน งานนี้จึงไม่มีใครเป็นอะไรมาก อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดเหตุนี้ขึ้น ทางผู้จัดก็ได้รวบรัดตัดตอนจบให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอยู่ดี
- อีกเรื่องซึ่งไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับอาถรรพ์พิษสวาทหรือไม่ นั่นคือในปีเดียวกันนั้น พิษสวาทได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์โดยมีรุจน์ รณภพ รับบทเป็นเชษฐา ดอกเตอร์สาขาวิทยาศาสตร์ แต่แล้วหลังจากที่ภาพยนตร์เริ่มเข้าโรงไปไม่นาน หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในไทยก็ขึ้นข่าวใหญ่ว่า รุจน์ รณภพ และ อรัญญา นามวงศ์ ได้ประกาศแยกทางกันโดยที่ไม่มีใครระแคะระคายเรื่องนี้เลยสักคนเดียว
- ละครพิษสวาทถูกหยิบมารีเมคอีกครั้งในปี 2524 ซึ่งครั้งนี้ทางผู้จัดได้พยายามลดความอาถรรพ์ด้วยการบวงสรวงก่อนถ่ายทำทุกคิว ทั้งๆ ที่ปกติแล้วการบวงสรวงละครจะทำเพียงครั้งเดียว คือตอนก่อนเริ่มเปิดกล้องเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การถ่ายทำจึงราบรื่น และไม่มีเหตุร้ายแรงอะไรเกิดขึ้น
- แต่กระนั้น คุณรัชนู บุญชูดวง ผู้รับบทคุณอุบล ก็ได้พบกับเหตุประหลาดบางอย่าง เมื่อเธอทั้งสัมผัสและฝันถึงหญิงสาวโบราณผู้หนึ่งอยู่เสมอ แถมหญิงโบราณผู้นั้นยังบอกให้คุณรัชนูเล่นเป็นตัวเธอให้ดีที่สุดด้วย ซึ่งนั่นก็ทำให้นักแสดงสาวต้องหมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อย่างสม่ำเสมอ แต่น่าแปลกที่หลังจากละครปิดกล้องลงไป เธอก็ไม่เคยฝันหรือพบเห็นหญิงสาวผู้นี้อีกเลย
- ในปี พ.ศ. 2534 พิษสวาท ถูกหยิบกลับมารีเมคอีกครั้งเป็นรอบที่ 3 ซึ่งครั้งนี้อาถรรพ์ก็ยังวนเวียนกลับมาใหม่อีกครั้ง แต่เกิดขึ้นกับวรรณิศา ศรีวิเชียร ผู้รับบทเป็นทิพย์ ศัตรูหัวใจของคุณอุบลที่กลับชาติมาเกิดใหม่ โดยเธอประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์จนบาดเจ็บสาหัสหลังจากที่ถ่ายทำไปได้เพียงครึ่งเรื่องเท่านั้น ทำให้ทีมงานต้องเปลี่ยนให้คุณปัทมา ปานทอง มาแสดงบทนี้แทนในครึ่งหลังของละคร
สำหรับละครเรื่องนี้จะมีการตัดเรื่องไปมาระหว่าง อดีตชาติและปัจุบันแถมอิงประวัติศาสตร์จริงบางส่วนด้วยค่ะ เราจะเห็นได้ว่าโลเคชั่นของเรื่องนี้มีความสวยงามของวัด วัง ในอดีต หลายคนคงอยากทราบใช่ไหมละค่ะว่า ละครเรื่องนี้ยกกองไปถ่ายที่ไหนกันบ้าง วันนี้เราจะมาตามรอยสถานที่ท่องเที่ยวแนวประวัติศาสตร์ไปกับละครดังเรื่องนี้กันเลยค่า...
1. วัดราชบูรณะ จ.อยุธยา
ในเนื้อเรื่องของละครพิษสวาทนั้น บอกถึงวิญญาณของนางรำคุณอุบล ที่ถูกสังหารโดยคนรักของเธอ ให้จองจำเฝ้าสมบัติไม่มีวันได้ไปเกิด สถานที่ที่เป็นที่มาของวิญญาณที่เฝ้ากรุสมบัติที่ถูกพูดถึงคือ พระปรางค์วัดราชบูรณะ เพราะสมัยก่อนวัดหลวง และวัดของตระกูลคนชั้นสูงที่สร้างเจดีย์ และพระปรางค์ จะมีการสร้างห้องเก็บสมบัติเอาไว้ที่ใต้ฐานเจดีย์ และพระปรางค์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเก็บไว้เพื่อเตรียมให้กับคนรุ่นหลัง สำหรับนำมาบูรณะบ้านเมืองหลังจากเกิดสงคราม และสมัยนั้นก็มีความเชื่อว่าจะต้องหาผู้ที่จงรักภักดีต่อชาติ เสียสละชีวิตเพื่อคอยเฝ้าทรัพย์สมบัติ วัดราชบูรณะปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารว่า สร้างขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒หรือ เจ้าสามพระยา ในปี พ.ศ. ๑๙๖๗ คือภายหลังจากสมเด็จพระนครินทราธิราชาสวรรคต กรุที่เก็บสมบัติอยู่ที่ พระปรางค์เป็นประธานขนาดใหญ่ สภาพโครงสร้างทั้งภายนอกและภายในยังมีบางส่วนค่อนข้างสมบูรณ์
ภายในพระปรางค์ส่วนฐานปรากฏว่ามีการสร้างกรุไว้เพื่อเก็บสมบัติ กรุชั้นล่าง ภายในห้องกรุชั้นนี้ เคยเป็นสถานที่เก็บสมบัติและของมีค่าไว้มากมาย อาทิ เช่น พระแสงขันธ์มงกุฎ และมงกุฏราชินี เสื้อทองคำ และพระพุทธรูปต่างๆ พระแก้ว พระทองคำ พระนาก เป็นต้น ซึ่งในปี พ.ศ.2499 ขณะที่กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งภายในวัดมหาธาตุ คนร้ายได้ลักลอบ ขุดกรุในองค์ปรางค์ประธานวัดราชบูรณะได้ของมีค่าจำนวนมาก(ว่ากันว่าคนร้ายต้องนำของมาคืนเพราะโดนอาถรรพ์ค่ะ) กรมศิลปากรจึงดำเนินการขุดกรุในองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง พบเครื่องราชูโภคซึ่งทำด้วยทองคำพระพิมพ์ส่วนหนึ่งนั้นกรมศิลปากรได้เปิดให้ประชาชนเช่าไปบูชา เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา และนำสิ่งของที่ได้จากกรุมาเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลา
ประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰✰✰
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การเดินทาง : หากเดินทางมาจากรุงเทพฯ โดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าอยุธยา ตรงเข้ามาผ่านสะพานนเศวร ตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ แล้ววัดราชบูรณะจะอยู่ถัดออกไป
แผนที่ :
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท หมายเหตุ ตั้งแต่เวลา
ประมาณ 19.30น.- 21.00น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰✰✰
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การเดินทาง : หากเดินทางมาจากรุงเทพฯ โดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32 เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าอยุธยา ตรงเข้ามาผ่านสะพานนเศวร ตรงไปจนถึงสี่แยกไฟแดงที่ 2 เลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนัก ผ่านบึงพระราม จะเห็นวัดมหาธาตุอยู่ทางซ้ายมือ แล้ววัดราชบูรณะจะอยู่ถัดออกไป
แผนที่ :
2. ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี
ฉากแรกในเรื่องพิษสวาทเป็นฉากการการรำเพื่อขอพรจากเทพเทวดาผู้ปกปักรักษาพระนครให้แผ่นดินรอดพ้นจากการรุกรานของทหารอังวะที่อยู่กำแพงค่ายยิงปืนใหญ่เข้ามาในพระนคร เหล่านางรำได้ยินเสียงปืนใหญ่แล้วเริ่มตระหนก มีเพียงอุบลที่ยังไม่เสียสมาธิ ด้วยความตั้งใจด้วยหน้าที่ “ถึงแม้กายเป็นหญิงแต่ก็รักชาติบ้านเมืองได้” เป็นฉากที่พาเราขนลุกไปกับความกล้าหาญของคุณอุบลจริงๆค่ะ ในส่วนของโลเคชั่นนั้น เราอาจคุ้นหูคุ้นตากันในละครแนวย้อนยุคหลายเรื่องเลยค่ะ กับฉากจำลองวัง สมัยอยุธยา ที่ พร้อมมิตรสตูดิโอ ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี มีความอลังการมาก เหมือนเราหลุดไปในสมัยอยุธยาที่นี่จำลองสถานที่ของกรุงอโยธยาสมัยเป็นราชธานีไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งเป็นฉากต่างๆ ของภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เช่น วัดมหาเถรคันฉ่อง ห้องเก็บพระแสงปืนต้น อาณาจักรหงสาวดี สีหสาสนบัลลังก์ คุกใต้ดิน พระที่นั่งสรรเพชรปราสาท ท้องพระโรงหงสาวดี รวมถึงละครเรื่องพิษสวาทก็มาถ่ายทำที่นี่อีกด้วยค่ะ
เวลาทำการ : ทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ ชาวไทย 100 บาท เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 50 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท หมู่คณะลด 10%
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰
การเดินทาง : กองถ่ายทำภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 24 กิโลเมตร จากตัวเมือง ใช้เส้นทางกาญจนบุรี -เขื่อนศรีนครินทร์ (ทาง 3199) ประมาณ18 กิโลเมตร ถึงสี่แยกลาดหญ้า มีทางแยกขวาผ่านค่ายทหารไปอีก3 กิโลเมตรถึงทางเข้าให้เลี้ยวขวาไปอีก 2 กิโลเมตร (มีป้ายบอกทาง)
แผนที่ :
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ ชาวไทย 100 บาท เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 50 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท หมู่คณะลด 10%
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰
การเดินทาง : กองถ่ายทำภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 24 กิโลเมตร จากตัวเมือง ใช้เส้นทางกาญจนบุรี -เขื่อนศรีนครินทร์ (ทาง 3199) ประมาณ18 กิโลเมตร ถึงสี่แยกลาดหญ้า มีทางแยกขวาผ่านค่ายทหารไปอีก3 กิโลเมตรถึงทางเข้าให้เลี้ยวขวาไปอีก 2 กิโลเมตร (มีป้ายบอกทาง)
แผนที่ :
3. พระราชวัง จ.อยุธยา
เราได้เห็นฉากจำลองของพระราชวังโบราณที่เอาไว้ถ่ายทำละครย้อนยุคกันไปแล้ว แต่พระราชวังสมัยอยุธยานั้นมีอยู่จริงๆนะคะ ที่พระราชวังหลวงหรือพระราชวังโบราณ จ.อยุธยา ในเรื่อง พิษสวาท นั้นจะอยู่ในยุคของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเอกทัศ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 33 พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงประทับอยู่ที่พระราชวัง ณ ที่แห่งนี้จริงๆค่ะ พระราชวังโบราณพระราชวังหลวงที่ปรากฏในพระนครศรีอยุธยาปัจจุบันคงเหลือแต่ฐานอาคารให้เห็นเท่านั้น สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองสร้างพระราชวังตั้งแต่เมื่อครั้งประทับอยู่ที่เวียงเล็ก เมื่อพ.ศ.1890 และเมื่อสร้างกรุงเสร็จใน พ.ศ.1893 จึงย้ายมาประทับ ที่พระราชวังใหม่ริม หนองโสน พระที่นั่งต่างๆในครั้งแรกนี้สร้างด้วยไม้อยู่ในบริเวณซึ่งปัจจุบันเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์ต่อมาเมื่อ พ.ศ.1991 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงถวายที่บริเวณพระราชวังเดิมสร้างเป็นวัด ในเขต พระราชวัง เรียกว่า "วัดพระศรีสรรเพชญ์"แล้วทรงสร้าง พระราชวังหลวงใหม่เลื่อนไปทางทิศเหนือชิดริมแม่น้ำลพบุรีพระที่นั่งต่างๆในเขตพระราชวังหลวงหรือที่เรียกในปัจจุบันว่าพระราชวังโบราณเดิมเป็นที่ประทับของ พระมหากษัตริย์อยุธยาทุกรัชกาลค่ะ
พระราชวังหลวงแบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ดังนี้
1.เขตพระราชฐานชั้นนอก เป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ และส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ศาลาลูกขุน ศาลหลวง ศาลาสารบัญชี เป็นต้น
2.เขตพระราชฐานชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาท 3 หลัง ได้แก่ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(ในละครพิษสวาทพระเจ้าเอกทัศใช้พระที่นั่งในการว่าราชกาล )
3.เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ โรงเครื่องต้น และที่อยู่ของฝ่ายใน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะเหลือแพ้แค่ซากปรักหักพังจากการทำสงครามและความเสื่อมโทรมตามกาลเวลาแต่ที่แห่งนี้ทำให้เราได้รู้ว่าในสมัยก่อนนั้นเมืองอยุธยายิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองแค่ไหน
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00–18.30 น.
ความพิเศษของสถานที่แห่งนี้คือ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน ด้วยแสงไฟและความมืดจะให้ภาพบรรยากาศแปลกอกไปจากตอนกลางวัน
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰✰✰
ที่ตั้ง :ถนนคลองท่อ, เทศบาลพระนครศรีอยุธยา, อยุธยา, อยุธยา
การเดินทาง : เดินทางเข้าถนนสายรอบกรุงผ่านจากวังจันทรเกษมไปเพียง 2 กิโลเมตรก็ถึงพระราชวัง
แผนที่ :
2.เขตพระราชฐานชั้นกลาง เป็นที่ตั้งของพระมหาปราสาท 3 หลัง ได้แก่ พระที่นั่งวิหารสมเด็จ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์(ในละครพิษสวาทพระเจ้าเอกทัศใช้พระที่นั่งในการว่าราชกาล )
3.เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ตั้งของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ โรงเครื่องต้น และที่อยู่ของฝ่ายใน เป็นต้น
ถึงแม้ว่าจะเหลือแพ้แค่ซากปรักหักพังจากการทำสงครามและความเสื่อมโทรมตามกาลเวลาแต่ที่แห่งนี้ทำให้เราได้รู้ว่าในสมัยก่อนนั้นเมืองอยุธยายิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองแค่ไหน
เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.00–18.30 น.
ความพิเศษของสถานที่แห่งนี้คือ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน ด้วยแสงไฟและความมืดจะให้ภาพบรรยากาศแปลกอกไปจากตอนกลางวัน
ค่าเข้าชม : ชาวไทย 10 บาท
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰✰✰
ที่ตั้ง :ถนนคลองท่อ, เทศบาลพระนครศรีอยุธยา, อยุธยา, อยุธยา
การเดินทาง : เดินทางเข้าถนนสายรอบกรุงผ่านจากวังจันทรเกษมไปเพียง 2 กิโลเมตรก็ถึงพระราชวัง
แผนที่ :
4. วัดพุทไธศวรรย์ จ.อยุธยา
เป็นอีกหนึ่งวัดหลักที่ใช้ถ่ายทำเรื่อง พิษสวาท ค่ะ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งที่มีฐานะเป็นพระอารามหลวง ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว 3 ปี
จุดน่าสนใจ
ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือทิศใต้มีมณฑปสองหลังภายในพระมณฑปมีพระประธาน
พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรมแต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาทและเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนักค่ะ
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰✰
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การเดินทาง : ใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหารแล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธศวรรย์
แผนที่ :
พระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรมแต่ภายในผนังของตำหนัก มีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาทและเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนักค่ะ
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰✰
ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในเขตตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การเดินทาง : ใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหารแล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธศวรรย์
แผนที่ :
5. วัดพระขาว จ.อยุธยา
ฉากที่คุณอุบลต้องต่อรองกับพระยายม เพื่อให้ได้ออกจากกรุสมบัตินั้น เราจะเห็นเป็นกำแพงลายสีทองๆใช่ไหมคะ จะเป็นที่ไหนไปไม่ได้เลยนั้นคือที่ วัดพระขาว ภายในวัด จะมีเรือนไทยฝาพนังเป็นลายรดน้ำสีทอง วัดพระขาวสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในปี พ.ศ.2540 ทางวัดได้ทำการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ทดแทนหลังเดิมซึ่งชำรุดทรุดโทรมทำการก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2545 ภายในอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบประเพณี เช่น พุทธประวัติตรภูมิ มารผจญ ทศชาติ และภาพทวารบาล ที่มีความประณีตและสวยงามตามแบบฉบับไทย
ระดับความน่าตามรอย : ✰✰✰
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาค 2 ตั้งอยู่เลขที่ 34 หมู่ที่ ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แผนที่ :
ที่ตั้ง : อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาค 2 ตั้งอยู่เลขที่ 34 หมู่ที่ ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แผนที่ :
เป็นไงบ้างคะสำหรับแหล่งที่เที่ยวตามรอยละครดังพิษสวาท สวยสดงดงาม น่าไปตามรอยสุดๆ บางสถานที่เราเองยังไม่รู้เลยว่า ที่ไทยมีที่สวยๆแบบนี้ด้วยหรอ เอาเป็นว่าสำหรับแฟนละครเรื่องนี้ถ้าอยากอินไปกับเนื้อเรื่องของละครละก็อย่าลืมไปเที่ยวสถานที่เหล่านี้กันนะคะ รับรองว่า ได้ทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และประทับใจกับความงามของสถานที่แบบว่า สวย เคลิ้ม มาก ค่ะ !! หรือใครมาแนวสายบุญจะไปทัวร์ทำบุญในอยุธยาด้วยก็เยี่ยมไปเลย ลองชมวัดที่เราอยากแนะนำได้ที่นี่จ้า ไหว้พระ 5 วัด อยุธยา พร้อมตามรอย วัดคุณอุบล สถานที่ถ่ายละครดัง
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น