วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การเลือกที่นั่งบนเครื่องบิน

เป็นที่ทราบว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินโดยสารเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะประหยัดเวลาและสะดวกสบาย แต่บางท่านอาจว่าสงสัยมานานแล้วเรื่องชั้นที่นั่งบนเครื่องบิน หรือ Class ต่างๆ มีความสำคัญยังไง มีกี่ Class แล้วแต่ละ Class แตกต่างกันอย่างไร ราคาต่างกันด้วยมั้ย รวมทั้ง ไม่รู้ว่าจะเลือกที่นั่งบนเครื่องบินตรงไหนดี ที่สำคัญ ที่นั่งตรงไหนปลอดภัยที่สุด หากเกิดเครื่องบินตก วันนี้ “มัชรูมทราเวล” มีคำตอบ พร้อมคำแนะนำ ไปดูกัน ^_^




ชั้นที่นั่งบนเครื่องบิน
เครื่องบินโดยสาร เป็นยานพาหนะสำหรับเดินทางที่สามารถเคลื่อนที่หรือบินไปในอากาศได้ และใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่สร้างขึ้นเพื่อขนส่งผู้โดยสารโดยเฉพาะ สำหรับตั๋วเครื่องบินนั้น เขาจะเขียนไว้เลยว่าตั๋วของท่านเป็นตั๋วชั้นไหน ตรงช่อง CLASS พิมพ์ตัวอักษรย่อชัดเจน เช่น F, C, Y เป็นต้น โดยทั่วไป สายการบินจะมี การจัดชั้นที่นั่งบนเครื่องบินออกเป็น 3 ระดับ คือ







1.ชั้นหนึ่ง (First class)
ที่นั่งชั้นหนึ่ง หรือ ที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาส ส่วนใหญ่อยู่หลังห้องนักบิน เป็นเพราะพื้นที่บริเวณนี้ค่อนข้างกว้างและเป็นส่วนตัว อาจมีทั้งชั้นบน และชั้นล่าง มีพื้นที่เป็นสัดส่วนและส่วนตัวมากที่สุด ไม่มีผู้โดยสารชั้นอื่น เดินผ่าน ที่นั่งส่วนนี้ จึงสะดวกสบาย เงียบ และไม่พลุกพล่าน เหมาะแก่การวางเก้าอี้ขนาดใหญ่ จำนวนที่นั่งจำกัดขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องบิน รวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก สมกับราคาตั๋วที่ถูกบวกเข้าไป แพงกว่าที่นั่งปกติหลายเท่า





ตั๋วของท่านเป็นตั๋วชั้นธุรกิจ ตรงช่อง CLASS เขียนว่า F หมายความว่าตั๋วของท่านเป็น first class เป็น ตั๋วชั้นหนึ่ง ที่นอนของท่านสะดวกสบาย และพรั่งพร้อมด้วยอาหารการกิน






2.ชั้นธุรกิจ (Business class)
ที่นั่งชั้นธุรกิจ โดยทั่วไปอยู่ต่อจากที่นั่งชั้นหนึ่ง และอยู่ด้านหน้าของที่นั่งชั้นประหยัด อาจมีทั้งชั้นบน และชั้นล่างเช่นกัน ตั๋วของท่านเป็นตั๋วชั้นธุรกิจ ตรงช่อง CLASS เขียนว่า C หมายความว่าตั๋วท่านเป็น business class คือ เป็นตั๋วชั้นธุรกิจ อาการกินดี ที่นั่งก็ยังพอใช้ได้ ไม่ต้องเบียดเสียดยัดเยียดกันเป็นปลากระป๋อง





3.ชั้นประหยัด (Economy class)
ที่นั่งชั้นประหยัด โดยทั่วไปเริ่มตั้งแต่ส่วนกลางของเครื่องบิน (ส่วนปีก) จนถึงส่วนท้าย (หางเครื่องบิน) จำนวนที่นั่งมีมากที่สุด ตัวเก้าอี้ที่นั่งในชั้น Economy Class ไม่มีความแตกต่างกันเลย เก้าอี้นั่งไม่สามารถจะปรับนอนราบ ปรับเอนได้ตามปกติเท่านั้น





บางสายการบินอาจมีที่นั่งชั้นประหยัด แบบพรีเมียม (Premium Economy) คือ เก้าอี้นั่งจะกว้างสบายกว่าชั้นประหยัดธรรมดา ค่าโดยสารแพงกว่าชั้นประหยัด แต่เก้าอี้นั่งไม่สามารถปรับนอนราบ ปรับเอนได้ตามปกติเท่านั้น และชั้นที่นั่งนี้มีเฉพาะบางเที่ยวบินที่ต้องใช้เวลาบินนาน (Long Haul Flight) เกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไปและบางสายการบินเท่านั้น


หากตั๋วของท่านเป็นตั๋วชั้นชั้นประหยัด ตรงช่อง CLASS เขียนว่า Y หมายถึง economy class ท่านต้องนั่งในชั้นประหยัด




อย่างไรก็ตาม อาจต่างกันที่ "Booking Class" (Economy: Y, B, M, H, Q, X, N, V, W, T, K, S) ในเครื่องบินเดียวกัน ตั๋วชั้นประหยัดก็เหมือนกัน แต่ Booking Class ต่างกัน เช่น W Class การบินไทย เที่ยวบินภายในประเทศ เป็นราคาโปรโมชั่น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการเดินทางได้, Q Class การบินไทย เที่ยวบินภายในประเทศ เป็นราคาสำหรับเยาวชน เปลี่ยนแปลงวันเดินทางได้ เที่ยวบินได้ และในแต่ละ Booking Class มีจำนวนที่นั่งจำกัด ดังนั้น การตัดสินใจซื้อตั๋วก่อน ท่านจะได้ที่นั่งในราคาที่ถูกกว่า ส่วนที่แตกต่างของ Booking Class คือ ราคาและเงื่อนไข นั่นเอง





การเลือกที่นั่งบนเครื่องบิน
บางท่านอาจสงสัยว่า หากจะเลือกที่นั่งบนเครื่องบิน จะเลือกนั่งตรงไหนดี เพราะแต่ละที่นั่งมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป

**ที่นั่งริมหน้าต่าง (Window Seat) เป็นที่นั่งยอดฮิต มักถูกหมายปองเป็นลำดับแรก เพราะที่นั่งริมหน้าต่าง ผู้นั่งสามารถชื่นชมวิวทิวทัศน์ได้ โดยไม่ต้องชะโงกหน้ามองข้ามศีรษะใคร เหมาะสำหรับเดินทางระยะไกล และอาจไม่สะดวกหากต้องลุกออกจากที่นั่งเพื่อเข้าห้องน้ำหรือทำธุระอื่น ๆ ซึ่งต้องลุกเดินผ่านที่นั่งด้านข้างเคียง ในกรณีที่เป็นคนแปลกหน้า อาจทำให้เกิดความรำคาญถ้าต้องเดินเข้า-ออก หลายครั้ง แต่หากเป็นคนรู้จักกันปัญหาคงน้อยลง นอกจากนี้ การนั่งในตำแหน่งริมหน้าต่างของเครื่องบิน อาจทำให้ผู้โดยสารไม่สามารถขยับร่างกายได้เท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม หากท่านชอบนอนบนเครื่อง ก็สะดวกดี เหมาะกับคนนอนหลับง่าย






**ที่นั่งตอนหน้าหรือหลังของเครื่อง ขึ้นอยู่กับประเภทของที่นั่งที่ท่านทำการจองไว้ หากเป็นประเภทเดียวกัน การเลือกที่นั่งช่วงที่ห่างจากห้องน้ำ มีความเป็นส่วนตัวมากกว่า เนื่องจากผู้โดยสารที่เดินผ่านไป-มา แต่หากท่านคาดว่าจะต้องเข้าห้องน้ำหลายครั้ง หรือ ไม่สะดวกในการเดินอาจเลือกช่วงที่ใกล้ห้องน้ำก็แล้วแต่ นอกจากนี้ การเลือกที่นั่งตอนหน้าจะได้รับการบริการจากพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก่อน ( เช่นการเสริฟอาหาร ) เนื่องจากขั้นตอนในการให้บริการ


 


ส่วนที่นั่งท้ายปีก เหมาะสำหรับท่านที่ชอบสามารถดูปีกเครื่องบิน โดยเฉพาะเวลา เวลา เทคออฟ (Take off) และ แลนดิ้ง (Landing) เพราะว่าดูการทำงานของปีกเครืองบิน







**ที่นั่งติดทางออก (Exit seat) หรือ ที่นั่งใกล้กับประตูขึ้น-ลง ช่วยให้ไม่ต้องเดินหิ้วสัมภาระไกล หรือรอติดคิวยาวเหยียด กว่าจะได้นั่งประจำที่ หรือลงจากเครื่อง




**ที่นั่งริมทางเดิน Aisle seat หรือ Isle Seat ติดทางเดิน เหมาะสำหรับท่านที่ชอบเข้าห้องน้ำบ่อย หรือเดินทางทางไกล มักชอบริมทางเดิน และเข้าห้องน้ำสบาย ไม่รบกวนคนอื่นเค้า


 

 
**ที่นั่งริมประตูฉุกเฉิน (Long Leg) สามารถเหยียดขาได้สะดวกดี แต่ว่าต้องสามารถช่วยเจ้าหน้าที่เขาได้ เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินต้องสละเครื่องบิน







หมายเหตุ ปัจจุบันนี้สายการบินเกือบทุกสายการบินมักกำหนดให้เป็นเที่ยวบินปลอดบุหรี่ จึงไม่จำเป็นต้องเลือกที่นั่งเป็นพื้นที่สูบบุหรี่หรือไม่




ที่นั่งตรงไหนปลอดภัยที่สุด หากเกิดเครื่องบินตก
ที่นั่งส่วนใดบนเครื่องบิน น่านั่งได้ปลอดภัยที่สุด ยามเมื่อเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ มีคนเขาบอกว่า “ส่วนท้ายของเครื่องบินคือ ส่วนที่ปลอดภัยที่สุด” เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นส่วนที่มีโอกาสได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด

ยามเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ “เครื่องบินส่วนใหญ่ที่เกิดอุบัติเหตุ มักจะมีอาการก่อนร่วงคือ หัวดิ่งลงพื้น จากนั้นท่อนหลัง หรือ แพนหาง จะหลุดกระเด็น ส่วนดังกล่าวของเครื่องบิน จึงเป็นบริเวณที่ได้รับความบอบช้ำน้อยที่สุด ทำให้ผู้ที่นั่งตอนท้าย มักมีโอกาสรอดตายมากกว่าส่วนอื่น” ด้วยเหตุผลดังกล่าว กล่องดำ หรือกล่องที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการบิน ของเครื่องบินแต่ละลำ จึงมักนิยมติดตั้งไว้ที่ส่วนท้ายเครื่องบินทุกลำ




นอกจากนี้ นิตยสารป็อบปูลา มาแคนนิกส์ (The Popular Mechanics) เคยวิจัย โดยการวิเคราะห์ทางสถิติไว้ว่า “ที่นั่งบนเครื่องบินด้านท้ายปลอดภัยที่สุด” ทั้งนี้ จากการศึกษาสถิติจากอุบัติเหตุต่างๆ ของสารพัดสายการบินที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาชี้ให้เห็นว่า ยิ่งอยู่ห่างจากหัวเครื่องบินเท่าใด ก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น โดยสถิติผู้รอดชีวิตจากอุบัติเหตุบนเครื่องบินส่วนใหญ่ 40% มีที่นั่งบริเวณหางเครื่องบิน


นิตยสารป็อบปูลา มาแคนนิกส์ ได้นำข้อมูลอุบัติเหตุของเครื่องบินในสหรัฐฯ จำนวน 20 ครั้ง จากสำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งแห่งสหรัฐฯ (NTSB) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 -2550 อย่างละเอียด ที่มีทั้งผู้รอดชีวิตและเสียชีวิต พร้อมทั้งข้อมูลแผนผังที่นั่งของผู้โดยสาร มาวิเคราะห์ว่าอุบัติเหตุแต่ละครั้ง ผู้โดยสารในแต่ละที่นั่ง มีสภาพเป็นอย่างไร





การเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิต แบ่งเครื่องบินออกเป็น 4 ส่วน โดยได้ข้อสรุปว่า “ยิ่งใกล้หางยิ่งปลอดภัยกว่า” เมื่อคำณวนตามอัตราการรอดชีวิตแล้ว นิตยสารป็อบปูลา มาแคนนิกส์ สรุปว่า ผู้ที่นั่งเคบินท้ายมีอัตราการรอดชีวิตถึง 69% หากเกิดอุบัติเหตุ และไล่ขึ้นมา ในเคบินส่วนปีกโอกาสรอด 56% เสมอกับเคบินส่วนหน้าปีก อย่างไรก็ดี เคบินที่มีอัตราการรอดชีวิตต่ำสุดคือเคบินแรก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจ โดยมีอัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุเพียง 49%



แม้จะเห็นว่า อัตราการรอดชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุบนเครื่องบินไม่แตกต่าง กันมากนัก แต่ที่สำคัญ ไม่ว่าจะนั่งตรงไหนของเครื่องก็ตาม เมื่อแน่ใจว่ารัดเข็มขัดแน่นแล้ว ก็ทำใจให้สบาย ตั้งใจฟังลูกเรือแนะนำกรณีฉุกเฉิน ต่างๆ และประคองสติให้มั่นขณะเกิดเหตุกันดีกว่า





อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบ การเกิดอุบัติเหตุยวดยาดพาหนะ เครื่องบินถือว่าปลอดภัยที่สุดแล้ว เรื่องแบบนี้ ชะตาชีวิต คนบนท้องฟ้าคงลิขิตมาแล้ว ไม่ต้องคิดมากมาย ตั้งใจทำงาน ใช้ชิวิตให้มีความสุขก็พอ...

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น