สวัสดีทุกท่านนะคะ
อีกไม่เกินรอก็จะเป็นวันส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับ ปีใหม่ กันแล้ว
ปีที่ผ่านมาเป็นยังไงกันบ้างคะ…?
บางคนก็บอกว่า ใช้ชีวิตคุ้มสุดๆกับปีที่ผ่านมาและพร้อมที่จะเริ่มต้น ปีใหม่ ด้วยความมุ่งมั่นและพัฒนาตัวเองกว่าเก่า ในขณะที่หลายคนก็บอกว่า สิ่งที่พูดมาข้างต้นเป็นเพียงมโนภาพที่คิดอยากจะทำ แต่ไม่เป็นอย่างที่หวังเท่านั้น….
ไม่ว่าทุกท่านจะคิดเห็นเช่นไร ก็ขอให้นึกว่า สิ่งที่ผ่านมา ถึงจะดีหรือร้ายก็คือการเรียนรู้ที่ผ่านเข้ามา ขอให้นำสิ่งที่ผ่านมาเป็นประสบการณ์เพื่อเรียนรู้ที่จะไปทำพลาดอีกในสิ่งที่เคยพลาด และหากเป็นประสบการณ์ที่ดี ก็ขอให้เป็นการนำมาเป็นกำลังใจในการพัฒนาตัวเองต่อไป เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีอะไรอยู่กับเราได้นาน ทั้งทุกข์และสุขเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น
อุ้ย…พล่ามมานาน ที่อยากจะบอกก็คือ คนเราสามารถลุกขึ้นมาเพื่อแก้ไขสิ่งผิดพลาดได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องรอให้ถึง ปีใหม่ หรือว่าวันสำคัญอะไร สำหรับใครที่กำลังมีทุกข์ ก็ขอให้เริ่มต้นใหม่พร้อมๆกับวันส่งท้ายปีเก่าและขึ้นปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ก็แล้วกันนะคะ
สำหรับใครที่ไม่อยากจะเบียดเสียดกับผู้คนในต่างจังหวัดช่วงเทศกาล อยากจะใช้ชีวิตเงียบสงบในเมืองหลวงช่วงปลายปี กรุงเทพมหานครแห่งนี้ก็ยังมีเรื่องสนุกๆ ที่เที่ยวน่าสนใจอีกมากมายเลยนะคะ และหากใครที่อยากจะเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ไหว้พระข้ามปี หรือประกอบมงคลช่วงปลายปี ต้นปีแล้ว วันนี้มัชรูมทราเวลก็เลยอยากชวนไป ไหว้พระ 9 วัด ให้ทุกท่านได้เดินทางไปกราบไหว้ เพื่อสิริมงคลของท่านและครอบครัวกันดีกว่า ว่าแต่จะพาไปวัดไหนกันบ้างตาม มาดูกันเถอะ!!!
ไม่ว่าทุกท่านจะคิดเห็นเช่นไร ก็ขอให้นึกว่า สิ่งที่ผ่านมา ถึงจะดีหรือร้ายก็คือการเรียนรู้ที่ผ่านเข้ามา ขอให้นำสิ่งที่ผ่านมาเป็นประสบการณ์เพื่อเรียนรู้ที่จะไปทำพลาดอีกในสิ่งที่เคยพลาด และหากเป็นประสบการณ์ที่ดี ก็ขอให้เป็นการนำมาเป็นกำลังใจในการพัฒนาตัวเองต่อไป เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง ไม่มีอะไรอยู่กับเราได้นาน ทั้งทุกข์และสุขเป็นเพียงสิ่งที่ผ่านมาและผ่านไปเท่านั้น
อุ้ย…พล่ามมานาน ที่อยากจะบอกก็คือ คนเราสามารถลุกขึ้นมาเพื่อแก้ไขสิ่งผิดพลาดได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องรอให้ถึง ปีใหม่ หรือว่าวันสำคัญอะไร สำหรับใครที่กำลังมีทุกข์ ก็ขอให้เริ่มต้นใหม่พร้อมๆกับวันส่งท้ายปีเก่าและขึ้นปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ก็แล้วกันนะคะ
สำหรับใครที่ไม่อยากจะเบียดเสียดกับผู้คนในต่างจังหวัดช่วงเทศกาล อยากจะใช้ชีวิตเงียบสงบในเมืองหลวงช่วงปลายปี กรุงเทพมหานครแห่งนี้ก็ยังมีเรื่องสนุกๆ ที่เที่ยวน่าสนใจอีกมากมายเลยนะคะ และหากใครที่อยากจะเข้าวัด ปฏิบัติธรรม ไหว้พระข้ามปี หรือประกอบมงคลช่วงปลายปี ต้นปีแล้ว วันนี้มัชรูมทราเวลก็เลยอยากชวนไป ไหว้พระ 9 วัด ให้ทุกท่านได้เดินทางไปกราบไหว้ เพื่อสิริมงคลของท่านและครอบครัวกันดีกว่า ว่าแต่จะพาไปวัดไหนกันบ้างตาม มาดูกันเถอะ!!!
1. วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
ทริป ไหว้พระ 9 วัด ของเราขอเริ่มจากวัดนี้ค่ะ ใครผ่านไปผ่านมาย่านฝั่งธนฯ ก็คงจะคุ้นหู คุ้นหน้า คุ้นตากับชื่อของ วัดกัลยาณมิตรกันเป็นอย่างดี ใช่มั้ยล่ะคะ…?
“กัลยาณมิตร” หมายถึง มิตรดี หรือเพื่อนดี” เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยมีความหมายที่มาจากความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่มีต่อเจ้าพระยานิกรบดินทร(โต) ผู้ซึ่งบริจาคที่ดินบ้านของท่านก่อสร้างพระอารามวัดแห่งนี้ ปัจจุบันอายุอันนามของวัดนี้ก็เกือบ 190 ปี และทางกรมศิลปากรก็ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมา สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมส่วนใหญ่ในวัดแห่งนี้ ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและจีน แสดงถึงความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของไทยจีนอย่างชัดเจน
จุดเด่น หลวงพ่อโต (ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง)
เวลาเปิด-ปิด 06.00-18.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 149, 40, 50, ปอ.177
เรือ : เรือข้ามฟากท่าปากคลองตลาด – ท่าวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยาฯ)
สำหรับผู้ที่อยู่ฝั่งธนฯ สามารถนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างจาหหน้าโรงเรียนศึกษานารีมาได้เลย
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) จากนั้นใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าราชินี หรือท่าปากคลองตลาด (N.7) จากนั้นนั่งเรือข้ามฝากท่าราชินีไปยังท่าน้ำวัดกัลยาณมิตร
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watkalyanamitra.com
“กัลยาณมิตร” หมายถึง มิตรดี หรือเพื่อนดี” เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยมีความหมายที่มาจากความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่มีต่อเจ้าพระยานิกรบดินทร(โต) ผู้ซึ่งบริจาคที่ดินบ้านของท่านก่อสร้างพระอารามวัดแห่งนี้ ปัจจุบันอายุอันนามของวัดนี้ก็เกือบ 190 ปี และทางกรมศิลปากรก็ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมา สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมส่วนใหญ่ในวัดแห่งนี้ ผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและจีน แสดงถึงความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของไทยจีนอย่างชัดเจน
จุดเด่น หลวงพ่อโต (ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง)
เวลาเปิด-ปิด 06.00-18.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 149, 40, 50, ปอ.177
เรือ : เรือข้ามฟากท่าปากคลองตลาด – ท่าวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยาฯ)
สำหรับผู้ที่อยู่ฝั่งธนฯ สามารถนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างจาหหน้าโรงเรียนศึกษานารีมาได้เลย
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) จากนั้นใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าราชินี หรือท่าปากคลองตลาด (N.7) จากนั้นนั่งเรือข้ามฝากท่าราชินีไปยังท่าน้ำวัดกัลยาณมิตร
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watkalyanamitra.com
พิกัด :
2. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดมะกอก —- วัดแจ้ง —- วัดอรุณราชวราราม
เอาจริงๆ คงไม่มีใครไม่รู้จักวัดอรุณฯ แน่ๆ แต่อาจจะรู้จักจริงๆในชื่อที่เรียกกันว่า “วัดแจ้ง” มากกว่า วัดนี้ถือว่าเป็น 1 ใน 9 วัด ที่ทุกคนต้องมาในทริป ไหว้พระ 9 วัด ความจริงแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า นอกจากชื่อวัดอรุณฯ หรือว่าวัดแจ้งแล้ว ยังมีชื่อเรียกแบบอื่นอีกด้วย รู้หรือไม่คะว่า…เป็นชื่ออะไร..?
ไม่รู้ไม่เป็นไร…เรามีคำตอบให้อยู่แล้ว…แต่ต้น แต่เดิม ตั้งแต่สมัยอยุธยานั้น วัดอรุณฯชื่อว่า วัดมะกอก เนื่องจากตั้งตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัด นั่นคือ ตำบลบางมะกอก ซึ่งในสมัยนั้นมีวัดชื่อว่า มะกอกอยู่ 2 วัดด้วยกันก็คือ วัดมะกอกที่เป็นชื่อเดิมของวัดอรุณฯ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และวัดมะกอกที่ตั้งอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ จึงให้ชื่อว่า วัดมะกอกนอก และ วัดมะกอกใน
วัดมะกอกนอกชื่อเดิมของวัดอรุณฯ นั้น ได้กลายมามีชื่อว่า วัดแจ้ง อันเนื่องมาจากการย้ายราชธานีมาที่กรุงธนบุรีตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และได้เสด็จมาถึงตอนอรุณรุ่ง จึงได้ใช้ชื่อว่า วัดแจ้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตหมายอันดี สำหรับชื่อ อรุณราชวรารามนั้นเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และวัดแห่งนี้ยังถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 อีกด้วย
จุดเด่น พระพุทธชัมพูนุช, พระจุฬามณี
เวลาเปิด-ปิด 08.00-17.30 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 19, 57, 83
เรือ : เรือข้ามฟากจากท่าเตียนหน้าวัดโพธิ์มายังวัดอรุณฯ หรือนั่งเรือนำเที่ยวมาจากวัดระฆังโฆสิตาราม
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม)ใช้ทางออกที่ 2 ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร (Central Pier)ไปขึ้นที่ท่าเตียน (N.8) จากนั้นใช้บริการเรือข้ามฟากจากท่าเตียนไปยังวัดอรุณราชวราราม
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watarun.org
ไม่รู้ไม่เป็นไร…เรามีคำตอบให้อยู่แล้ว…แต่ต้น แต่เดิม ตั้งแต่สมัยอยุธยานั้น วัดอรุณฯชื่อว่า วัดมะกอก เนื่องจากตั้งตามชื่อตำบลที่ตั้งของวัด นั่นคือ ตำบลบางมะกอก ซึ่งในสมัยนั้นมีวัดชื่อว่า มะกอกอยู่ 2 วัดด้วยกันก็คือ วัดมะกอกที่เป็นชื่อเดิมของวัดอรุณฯ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และวัดมะกอกที่ตั้งอยู่ในคลองบางกอกใหญ่ จึงให้ชื่อว่า วัดมะกอกนอก และ วัดมะกอกใน
วัดมะกอกนอกชื่อเดิมของวัดอรุณฯ นั้น ได้กลายมามีชื่อว่า วัดแจ้ง อันเนื่องมาจากการย้ายราชธานีมาที่กรุงธนบุรีตามพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และได้เสด็จมาถึงตอนอรุณรุ่ง จึงได้ใช้ชื่อว่า วัดแจ้ง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตหมายอันดี สำหรับชื่อ อรุณราชวรารามนั้นเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และวัดแห่งนี้ยังถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 อีกด้วย
จุดเด่น พระพุทธชัมพูนุช, พระจุฬามณี
เวลาเปิด-ปิด 08.00-17.30 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 19, 57, 83
เรือ : เรือข้ามฟากจากท่าเตียนหน้าวัดโพธิ์มายังวัดอรุณฯ หรือนั่งเรือนำเที่ยวมาจากวัดระฆังโฆสิตาราม
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม)ใช้ทางออกที่ 2 ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร (Central Pier)ไปขึ้นที่ท่าเตียน (N.8) จากนั้นใช้บริการเรือข้ามฟากจากท่าเตียนไปยังวัดอรุณราชวราราม
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watarun.org
พิกัด :
ไหว้พระขอมิตรกันที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ต่อด้วยการไหว้พระเพื่อเสริมสิริมงคลและนิมิตหมายของปีใหม่กันแล้ว มาต่อกันด้วยการตีระฆัง ให้โชคดีและชื่อเสียงเลื่องลือระบือไกลกันที่…วัดที่ 3 ของทริป ไหว้พระ 9 วัด กันเลยดีกว่าค่ะ
3. วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
อีกหนึ่งวัดดังของฝั่งธน เป็นวัดเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่าวัดบางหว้าใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการขุดพบระฆังโบราณในเขตวัด ทำให้ประชาชนพากันเรียกว่า วัดระฆัง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สำหรับตัวระฆังที่ขุดพบนั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำไปที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) และทรงให้สร้างชดเชยให้วัดระฆังเสียใหม่ ถึง 5 ลูกด้วยกัน และพระราชทานให้กับวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” แต่เนื่องจากมีวัดในอยุธยาชื่อว่า “วัดระฆัง” เช่นเดียวกัน พระรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้ง….จากวัดระฆังโฆสิตาราม เป็น วัดราชคัณฑิยาราม (คัณฑิ หมายถึง ระฆัง)
จุดเด่น หอพระไตรปิฎก (สถาปัตยกรรม)
เวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 19, 57, 83
เรือ : เรือด่วนเจ้าพระยาลงท่ารถไฟหรือท่าวังหลัง หรือจะนั่งเรือข้ามฟากจากท่าช้างไปท่าวัดระฆัง
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าเตียน (N.8) จากนั้นนั่งเรือข้ามฝากไปที่ท่าวัดระฆัง
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watrakang.com
จุดเด่น หอพระไตรปิฎก (สถาปัตยกรรม)
เวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 19, 57, 83
เรือ : เรือด่วนเจ้าพระยาลงท่ารถไฟหรือท่าวังหลัง หรือจะนั่งเรือข้ามฟากจากท่าช้างไปท่าวัดระฆัง
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าเตียน (N.8) จากนั้นนั่งเรือข้ามฝากไปที่ท่าวัดระฆัง
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watrakang.com
พิกัด :
4. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
เราเชื่อว่าต้องมีวัดพระแก้วในลิสต์ ไหว้พระ 9 วัด อย่างแน่นอน ถ้าหากมีเพื่อนต่างชาติขอให้พาเที่ยวเมืองไทย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือว่า วัดพระแก้ว ก็คงจะเป็นตัวเลือกแรกๆที่คนไทยอย่างเราเก็บไว้ในลิสต์ที่ต้องพาไปด้วยเช่นกันใช่หรือไม่คะ วัดพระแก้วเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น โดยมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร หรือพระแก้วมรกต ซึ่งนำมาจากกรุงเวียงจันทน์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เนื่องจากมีแต่ส่วนพุทธาวาส ไม่มีส่วนสังฆาวาส สถาปัตยกรรมรวมถึงจิตรกรรมภายในก็วิจิตรงดงาม เรียกได้ว่าเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมืองและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่แสดงออกถึงวัฒนธรรม สร้างชื่อเสียงและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยทุกคนอย่างแท้จริง
จุดเด่น พระแก้วมรกต
เวลาเปิด-ปิด 08.30-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 1, 3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 53, 59, 64, 80, 82, 91,201, 203
ปอ.501, 503, 508, 512
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน ใช้ทางออกที่ 2 ลงไปที่ท่าเรือสาธร แล้วนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าช้าง
จุดเด่น พระแก้วมรกต
เวลาเปิด-ปิด 08.30-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 1, 3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 53, 59, 64, 80, 82, 91,201, 203
ปอ.501, 503, 508, 512
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน ใช้ทางออกที่ 2 ลงไปที่ท่าเรือสาธร แล้วนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าช้าง
พิกัด :
5. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
หลายคนอาจรู้จักวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือว่าวัดโพธิ์จาก การนวดเพื่อสุขภาพ หรือนวดเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยต่างๆ ใช่มั้ยคะ…? ความจริงแล้ววัดโพธิ์แห่งนี้นอกจากจะดังเรื่องนวดแผนไทยแล้ว ยังเป็นวัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1 อีกทั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย ซึ่งทางยูเนสโกได้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากเป็นศูนย์รวมสรรพวิชาหลากหลายแขนง สำหรับด้านท่องเที่ยวนั้น วัดโพธิ์ติดอันดับ 24 ของโลกด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ในปีพ.ศ. 2549
จุดเด่น มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย
เวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 1, 3, 6, 9, 12, 25, 43, 44, 47, 53, 60, 82, 91, 123, ปอ. 501, 508
เรือ : สามารถขึ้นได้ที่ท่าเรือท่าช้าง, ท่าเตียน, ปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าเตียน (N8) จากนั้นเดินตรงขึ้นไปยังวัดโพธิ์
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watpho.com
จุดเด่น มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย
เวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 1, 3, 6, 9, 12, 25, 43, 44, 47, 53, 60, 82, 91, 123, ปอ. 501, 508
เรือ : สามารถขึ้นได้ที่ท่าเรือท่าช้าง, ท่าเตียน, ปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าเตียน (N8) จากนั้นเดินตรงขึ้นไปยังวัดโพธิ์
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watpho.com
พิกัด :
6. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดเก่าแก่ที่ต้องเก็บไว้ในลิสต์ ไหว้พระ 9 วัด สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งใช้ชื่อเดิมว่า วัดสุทธาวาส ในตอนนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่เป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จากพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย มาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานครแห่งนี้ เพื่อให้เป็นมิ่งขวัญแก่พระนคร ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้ประชาชนทั่วไปพากันเรียกวัดสุทธาวาสแห่งนี้ว่า วัดพระโต หรือ วัดพระใหญ่ และได้รับพระราชทานชื่อว่าวัดสุทัศนเทพวราราม ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา สำหรับคติเพื่อความเป็นสิริมงคลในการมากราบไหว้ขอพรที่คนไทยยึดถือกันนั้น ก็คือ วิสัยทัศน์กว้างไกล มีสเน่ห์แก่คนทั่วไป นั่นเอง ซึ่งนอกจากความศักดิ์สิทธิ์ของพระคู่วัดแล้ว สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมของวัดแห่งนี้ยังงดงาม ทรงคุณค่า เป็นการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังอย่างเราได้ศึกษาและเรียนรู้ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว
จุดเด่น พระศรีศากยมุณี (พระโต, พระใหญ่)
เวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 10, 12, 15, 19, 35, 42, 48, 73, 96
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน ใช้ทางออกที่ 2 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร ไปขึ้นที่ท่าช้าง หรือท่าพระอาทิตย์ จากนั้นต่อแท็กซี่ หรือรถตุ๊กตุ๊กไปยังวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับเสาชิงช้า ถ. บำรุงเมือง
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.kruwatsuthat.com
จุดเด่น พระศรีศากยมุณี (พระโต, พระใหญ่)
เวลาเปิด-ปิด 08.00-16.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 10, 12, 15, 19, 35, 42, 48, 73, 96
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน ใช้ทางออกที่ 2 ต่อเรือด่วนเจ้าพระยาที่ท่าสาทร ไปขึ้นที่ท่าช้าง หรือท่าพระอาทิตย์ จากนั้นต่อแท็กซี่ หรือรถตุ๊กตุ๊กไปยังวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับเสาชิงช้า ถ. บำรุงเมือง
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.kruwatsuthat.com
พิกัด :
7. วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
สมัยก่อนนั้น วัดชนะสงครามตั้งอยู่ที่กลางทุ่งนา จึงเรียกกันว่า วัดกลางนา ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างวัดขึ้นให้คล้ายกับวัดที่กรุงศรีอยุธยา จึงทรงให้ปฏิสังขรณ์ใหม่และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจากวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และตั้งให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ และเมื่อต่อสู้ชนะจึงพระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้งนั่นเอง เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเชื่อที่ต้องการชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง การไปไหว้พระที่วัดชนะสงครามจึงเป็นความเชื่อที่ยึดถือปฎิบัติกันมาด้วยความศรัทธาจวบจนปัจจุบัน
จุดเด่น พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชษฐ์ มเหธิศักดิ์ ปูชะนียชยันตะโคดบรมศาสนา อนาวรญาณ
เวลาเปิด-ปิด 08.30-15.30 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 3, 6, 9, 15, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 82, 123, ปอ.6, ปอ.509
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 จากนั้นต่อเรือด่วนเจ้าพระยา ไปขึ้นที่ท่าช้าง หรือท่าพระอาทิตย์ และต่อรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กตุ๊กไปยังวัดชนะสงคราม ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนข้าวสาร
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watchanasongkram.com
จุดเด่น พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชษฐ์ มเหธิศักดิ์ ปูชะนียชยันตะโคดบรมศาสนา อนาวรญาณ
เวลาเปิด-ปิด 08.30-15.30 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 3, 6, 9, 15, 30, 32, 33, 43, 53, 64, 65, 82, 123, ปอ.6, ปอ.509
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน S6 (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 จากนั้นต่อเรือด่วนเจ้าพระยา ไปขึ้นที่ท่าช้าง หรือท่าพระอาทิตย์ และต่อรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กตุ๊กไปยังวัดชนะสงคราม ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามถนนข้าวสาร
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watchanasongkram.com
พิกัด :
8. วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
อีกหนึ่งวัดสำคัญของทริป ไหว้พระ 9 วัด แต่เดิมชื่อว่า วัดใหม่ อยู่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างและทะนุบำรุงขึ้นใหม่จนกลายเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง วัดนี้เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อครั้นทรงผนวชถึงหลายพระองค์ เช่น รัชกาลที่ ๕, ในหลวงรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งทั้งศิลปกรรมโบราณวัตถุ รวมถึงศิลปวัตถุหลายสิ่งหลายอย่าง ยังคงอยู่ในสภาพดีควรค่าแก่การศึกษา
จุดเด่น พระไพรีพินาศ
เวลาเปิด-ปิด 08.30-17.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 12,15, 56, 68, ปอ.511
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าพระอาทิตย์ (N13) จากนั้นต่อรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กตุ๊กไปวัดบวรฯ ชึ่งอยู่ติดกับตลาดบางลำพู
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watbowon.com
จุดเด่น พระไพรีพินาศ
เวลาเปิด-ปิด 08.30-17.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 12,15, 56, 68, ปอ.511
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) ใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าพระอาทิตย์ (N13) จากนั้นต่อรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กตุ๊กไปวัดบวรฯ ชึ่งอยู่ติดกับตลาดบางลำพู
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watbowon.com
พิกัด :
9. วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
เราอาจคุ้นกันดีในชื่อเรียกที่ว่า “วัดภูเขาทอง” ซึ่งวัดสระเกศราชวรมหาวิหารนั้น เดิมมีชื่อว่า วัดสะแก เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ และในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้าง พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง และกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่ยังสร้างไม่เสร็จ ดังนั้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และการก่อสร้างทั้งหมดนั้นแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
จุดเด่น พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)
เวลาเปิด-ปิด 08.00-18.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 8, 15, 37, 47, 49
เรือ : เรือด่วนไปยังท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ(คลองแสนแสบ), หรือท่าเรือภูเขาทอง(คลองผดุงกรุงเกษม)
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีราชเทวี N1 (สายสุขุมวิท) ใช้ทางออกที่ 1 แล้วเดินตรงไปทางสะพานหัวช้างเพื่อใช้บริการเรือโดยสารจากท่าสะพานหัวช้าง ไปยังท่าผ่านฟ้า
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watsraket.com
จุดเด่น พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง)
เวลาเปิด-ปิด 08.00-18.00 น.
การเดินทาง
รถประจำทาง : สาย 8, 15, 37, 47, 49
เรือ : เรือด่วนไปยังท่าเรือผ่านฟ้าลีลาศ(คลองแสนแสบ), หรือท่าเรือภูเขาทอง(คลองผดุงกรุงเกษม)
รถไฟฟ้าบีทีเอส : ลงสถานีราชเทวี N1 (สายสุขุมวิท) ใช้ทางออกที่ 1 แล้วเดินตรงไปทางสะพานหัวช้างเพื่อใช้บริการเรือโดยสารจากท่าสะพานหัวช้าง ไปยังท่าผ่านฟ้า
ข้อมูลเพิ่มเติม : www.watsraket.com
พิกัด :
ครบทั้ง 9 วัดแล้ว เป็นยังไงกันบ้างคะ ลิสต์ไว้ในทริป ไหว้พระ 9 วัด ของคุณแล้วหรือยัง… ถึงจะเป็นวัดที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ก็เรียกได้ว่าเป็น 9 วัดที่คนไทยศรัทธาและนิยมที่จะไปกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ สำหรับท่านใดที่ไม่ชอบเบียดเสียดกับฝูงชนช่วงปีใหม่ในต่างจังหวัด การอยู่กรุงเทพฯเที่ยวกรุงเทพฯด้วยวิถีสโลว ไลฟ์ก็เป็นบรรยากาศที่น่าสนใจและหาความเงียบสงบได้ไม่บ่อยเลยจริงมั้ยล่ะคะ
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น