หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบความหรูหรา มหัศจรรย์ งดงาม ของโรงแรม-ที่พัก ในต่างประเทศ “มัชรูมทราเวล” แนะนำ โรงแรมบูร์จอัลอาหรับ (Burj Al Arab Hotel) เป็นโรงแรมที่มีชื่อเสียง 7 ดาวเพียงแห่งเดียวของนครรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่โอ่อ่า ไฮโซสุดๆ ในโลก มีความสวยงาม ยิ่งใหญ่ อลังการ เรียกว่าเห็นโรงแรมนี้แล้ว ต้องร้องฮู้ฮู อึ้งและทึ่ง ไปดูกัน ^-^
โรงแรมบูร์จอัลอาหรับ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ในฝีมือมนุษย์จริงๆ ที่สามารถเนรมิตสิ่งที่เหนือธรรมชาติ ได้อย่างสวยงาม ตั้งบนเกาะที่ถมใหม่บนทะเล ให้เป็นเกาะขนาดเล็ก ใช้เวลาในการถมเกาะและสร้างพื้นที่รอบเกาะ เพื่อความปลอดภัยจากการกัดเซาะของน้ำทะเลรวมเวลาถึง 3 ปี ห่างจากชายหาดยูเมร่าห์ 280 เมตร และเชื่อมต่อด้วยสะพานที่มีลักษณะโค้ง มีลักษณะโครงสร้างการออกแบบเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองดูไบ เมืองมห้ศจรรย์ที่ถูกผันแปรจากดินแดนทะเลทรายมาสู่ความมั่งคั่งในการค้า และศูนย์กลางธุรกิจ
โรงแรมบูร์จอัลอาหรับ เป็นโรงแรมที่มีความปลอดภัย สะอาด พรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกและมีจุดเด่นตรงสถาปัตยกรรม มีรูปแบบทันสมัย ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ เป็นสถาปัตยกรรมในยุคของ gen-z ที่มีความโดดเด่นในตัวเองและมีทัศนียภาพที่สวยงามตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี ลักษณะเป็นตึกคล้ายเรือใบ ซึ่งเป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งของชาวอาหรับ โดยชั้นบนมีบริเวณจอดเฮลิคอปเตอร์ โดยยื่นออกมาจากตัวโรงแรม และมีร้านอาหารในชื่อ อัลมูนตาฮา ทีเดียว
โรงแรมบูร์จอัลอาหรับ ออกแบบโดยสถาปนิก ทอม ไรต์ จากสำนักงานสถาปนิก แอตกินส์ มีความสูงถึง 321 เมตร (1,053 ฟุต) ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบริเวณอ่าวเปอร์เซีย โดยเชื่อมต่อกับฝั่งผ่านทางสะพาน เบิร์จอัลอาหรับเป็นเจ้าของโดย จูเมราฮ์ ก่อสร้างเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 แล้วเสร็จและเริ่มเปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2542 นับเป็นโรงแรมหรูหราสุดๆ ของโลกแห่งหนึ่ง ตั้งแต่ตัวตึกที่มีรูปร่างโดดเด่นสดุดตา ตบแต่งอลังการ ตั้งแต่โถงทางเข้า ห้องน้ำ ห้องพัก ล้วนแต่หรูหราสุดๆ บันไดในห้องทำจากหินอ่อนและทองคำ พรมลายเสือดาว ลิฟต์ส่วนตัว และเตียงนอนซึ่งตั้งอยู่บนแท่นที่หมุนได้ พร้อมห้องดูภาพยนตร์ส่วนตัว
ห้องในโรงแรมในบูร์จอัลอาหรับมีลักษณะเป็นห้องสวีตคู่ 202 ห้อง โดยห้องที่เล็กสุดมีขนาด 169 ตร.ม. และห้องใหญ่สุดมีขนาด 780 ตร.ม. มีห้องพักแบบดีลักซ์สูท 142 ห้อง พาโนรามิกสูท 18 ห้อง คลับสูท 4 ห้อง สูทแบบ 2 ห้องนอน 28 ห้อง สูทแบบ 3 ห้องนอน 6 ห้อง เพรสซิเดนเที่ยลสูท 2 ห้อง อยู่ชั้นที่ 24 รอยัลสูท 2 ห้องอยู่ชั้นที่ 25 ขนาดห้องมีตั้งแต่ 170 ตารางเมตรจนถึง 780 ตารางเมตร โรงแรมบูร์จอัลอาหรับ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโรงแรมที่แพงสุดในโลก โดยราคาค่าที่พักอยู่เริ่มต้นที่ $1,000 -$15,000 ต่อคืน และห้องที่แพงสุดจะอยู่ที่ราคา $28,000 ต่อคืน
เชิญคุณสัมผัสโรงแรม 7 ดาวที่สูงและดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง มีความยิ่งใหญ่ อลังการงานสร้าง หรูหรา แพงนอนคืนละ 5.4 แสนบาท ที่ถูกสร้างอยู่บนเกาะและได้รับการถมสร้างขึ้นมาด้วยน้ำมือมนุษย์ ณ ท้องทะเลของรัฐดูไบ...
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555
เปิดประสบการณ์แช่น้ำแร่ญี่ปุ่นออนเซ็น
คุณคงเคยได้ยินว่า การเที่ยวญี่ปุ่นแล้ว ไม่ได้ไป แช่น้ำแร่ออนเซ็น ก็เหมือนไม่ได้ไปถึงประเทศญี่ปุ่น อาจเพราะการอาบน้ำแร่ร้อน ออนเซ็น นั้น ได้กลายเป็นสัญญลักษณ์และวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นมาช้านานแล้ว และในวันนี้ “มัชรูมทราเวล” พาคุณไปสัมผัสสวรรค์แช่น้ำแร่ญี่ปุ่น ออนเซ็น กันจ้า ^-^
ออนเซ็น...วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น
บ่อน้ำพุร้อน หรือ การอาบน้ำแร่ ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "ออนเซ็น" คือสถานที่อาบน้ำร้อน (น้ำแร่) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความพิเศษอยู่ที่ เป็นห้องอาบน้ำรวม แยกชาย-หญิง ที่ทุกคนต้องเปลือยเปล่า แล้วลงแช่น้ำร่วมกัน อุณหภูมิของน้ำแร่มีความร้อนประมาณ 45-50 องศา ตามมาตรฐานแบบญี่ปุ่น ซึ่งในหมู่ผู้หญิงญี่ปุ่นเขาลงแช่บ่อน้ำพุร้อนกัน เพราะน้ำแร่นั้นมีแร่ธาตุและสรรพคุณต่างๆ ดีต่อร่างกาย ผิวพรรณ อันส่งผลต่อเรื่องความงาม ในขณะที่ผู้ชายญี่ปุ่นนิยมแช่น้ำแร่ร้อนออนเซ็นเพื่อผ่อนคลายความเครียด สบายตัว ปัจจุบัน "ออนเซ็น" จึงกลายเป็นสถานที่ผ่อนคลายเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับทุกฤดู โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องไปแช่น้ำพุร้อนเฉพาะหน้าหนาวเท่านั้น
เดิม ออนเซ็น เกิดขึ้นมาจากภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น เพราะเกาะแห่งนี้เป็นผืนแผ่นดิน มีทำเลที่ตั้งอยู่บนบริเวณอ่อนไหวของเปลือกโลก ซึ่งมีภูเขาไฟอยู่หลายแห่งใต้ดิน จึงมีแหล่งน้ำพุร้อนมากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ และเมื่อเย็นตัวลง จะปล่อยแก๊สและไอน้ำออกมา จนกระทั่งกลายเป็นน้ำพุร้อน ประกอบกับญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตหนาว อากาศทั่วไปหนาวเย็น และยิ่งหนาวเหน็บอย่างแสนทรมานช่วงฤดูหนาว บางพื้นที่มีหิมะตกปกคลุมนานหลายเดือน น้ำแร่ร้อนจึงเป็นมรดกอันล้ำค่าจากธรรมชาติที่มอบให้ชาวญี่ปุ่นเกือบทุกจังหวัด และกลายวัฒนธรรมวิถีชีวิตแช่น้ำแร่ อาบน้ำร้อน ปฎิบัติมาแต่โบราณนับพันปี จนกลายเป็นวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น
ว่ากันว่า ทั่วประเทศญี่ปุ่นนั้น มีสถานที่อาบน้ำแร่ร้อน หรือ ออนเซน มากถึง 27,000 แห่งเลยทีเดียว ยังไม่รวมสถานอาบน้ำร้อนที่ใช้น้ำประปาธรรมดา ที่ทำให้ร้อนไว้นอนแช่กัน ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองใหญ่ ที่ไม่มีแหล่งน้ำพุร้อน เรียกกันว่า "เซนโต" อีกมากมายนับพันแห่ง หรือแม้แต่ที่บ้านของชาวญี่ปุ่นก็มักนิยมทำ "โอฟุโระ" หรือ อ่างอาบน้ำร้อน ไว้นอนแช่กันเป็นส่วนตัวภายในครอบครัว ทั้ง ออนเซน และ เซนโต จึงเป็นที่อาบน้ำรวมผู้คนไปใช้บริการอาบน้ำ แช่น้ำ ในอ่างอาบน้ำร่วมกัน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า น้ำแร่ร้อนนี้ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ สรรพคุณดีต่อร่างกาย ผิวพรรณ สวยงาม
สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว เมื่อ ออนเซ็น เขาจะถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด แบบไม่อายกัน แม้เป็นเพื่อนๆ กัน หรือ ไม่รู้จักกัน เขาก็ไม่สนใจ ถือว่า นี่คือการผ่อนคลายเครียดนั่นเอง อาจเป็นเพราะความคุ้นเคยมาแสนนาน เกิดมาก็ออนเซ็น แก้ผ้าโถงๆ อาบน้ำอยู่รวมๆ กันตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เป็นเรื่องเฉยๆ ธรรมดาๆ เราอาจสังเกตุได้ง่ายๆ จากบ้านของคนญี่ปุ่นทั่วไป เขามีห้องอาบน้ำในบ้าน แยกต่างหากกับห้องน้ำ ซึ่งแตกต่างจากกับบ้านคนไทย ที่มีห้องน้ำและที่อาบน้ำรวมกัน จุดนี้เองแสดงให้เห็นว่า คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการแช่น้ำ อาบน้ำกันมาก แม้แต่ในบ้าน เขาก็ยังแช่อ่างน้ำ ในขณะที่คนไทยอาบน้ำด้วยฝักบัว หรืออาบน้ำด้วยขัน
ที่จริงแล้ว วัฒนธรรมการอาบน้ำร่วมกันนั้น มีมาช้านานแล้วในสังคมญี่ปุ่น โดยกล่าวกันว่า การเปลือยกายลงแช่บ่อน้ำพุร้อนมีข้อดี 2 ประการ นั้นคือ
1) ช่วยให้ดื่มด่ำกับคุณประโยชน์ของน้ำพุร้อน และบรรยากาศรอบตัวได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อีกทั้งช่วยให้คนกับธรรมชาติมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
2) ช่วยลดช่องว่างระหว่างบุคคลกับบุคคล ในสมัยก่อนนักรบหรือซามูไรนั้น มักพกดาบติดตัวตลอดเวลา แต่เมื่อลงแช่น้ำพุร้อน ไม่ว่าคุณเป็นใครมาจากไหน ก็ต้องเปลือยกายปลดอาวุธ และนั่นคือสิ่งที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกว่าทุกคนมีสถานะเท่าเทียมกัน รวมทั้งเกิดความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Hadaka no Tsukiai หรือ การคบกันแบบเปิดเปลือยหรือแบบไม่มีวาระปิดบังซ่อนเร้น ช่างเป็นวัฒนธรรมชวนฉงนของชาวญี่ปุ่นแน่แท้...
ดังนั้น การอาบน้ำด้วยการเปลื้องผ้าลงไปแช่ใน ออนเซน ร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่แสนธรรมดา หากว่าคุณมีโอกาสไปแช่ออนเซ็น ก็น่าจะเรียนรู้วิธีปฎิบัติและธรรมเนียมการแช่น้ำร้อนกัน
ข้อควรรู้ และวิธีปฏิบัติและธรรมเนียมการแช่น้ำร้อน
1. ไม่ต้องอาย เพราะการอายทำให้เราดูเป็นตัวประหลาด และเป้าสายตามากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นเค้าทำ อะไรกัน ก็ทำตามเค้า
2. อย่าใส่กางเกงใน เมื่อเข้าไปออนเซ็น เพราะเป็นการกระทำที่สกปรกสำหรับคนที่นั่น ต้องไปแต่ตัวเปล่าเล่าเปลือย พร้อมผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ที่จัดเตรียมให้
3. ก่อนลงแช่น้ำร้อน ให้อาบน้ำทำความสะอาด เพราะหากคุณไม่อาบน้ำ เค้าหาว่าสกปรก
4. ตอนอาบน้ำ ให้ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ผืนเดียว วางปิดส่วนที่อยากปิดไว้ (ที่สำหรับอาบน้ำก่อนแช่น้ำร้อน เป็นแบบนั่งอาบน้ำ)
5. อาบเสร็จ ได้เวลาลงแช่น้ำร้อนออนเซ็น
6. ตอนแช่น้ำร้อน อย่านำผ้าขนหนูผืนเล็กๆ นั่น ลงไปด้วย ให้ลงไปแต่ตัว (เอาผ้าวางไว้ี่ที่ขอบอ่าง, สระหรือบ่อน้ำร้อน หรือไม่ก็วางไว้บนศรีษะ)
7. อย่าถูขี้ไคล เค้าให้คุณอาบน้ำให้สะอาดก่อนแช่ ไม่ได้ให้มาอาบในบ่อน้ำร้อน
8. อย่าว่ายน้ำเล่น หรือทำตัวเปรียบเสมือนอยู่ในสวนน้ำ
9. นั่งแช่ไปเรื่อยๆ เฉยๆ จนรู้สึกอยากขึ้น ก็ขึ้นได้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยแช่ออนเซ็น
สำหรับผู้ที่ไม่เคยแช่ ออนเซ็น อย่าลงไปแช่นานมาก อาจเวียนหัว ระวังเป็นลมซะก่อน เมื่อคุณปรารถนาจะแช่น้ำแร่ร้อน ออนเซ็น คุณสามารถเดินเข้าห้องได้เลย แต่ไม่ต้องแปลกใจนะ หากคุณเห็นคนแก้ผ้าอยู่เต็มไปหมด ทำเฉยๆซะ เดินๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อรับผ้าขนหนู ถอดเสื้อผ้าให้หมด แล้วเอาเสื้อผ้าใส่ล๊อคเกอร์ เดินตรงเข้าไปใน ออนเซ็น ได้เลย ถ้าอาย แนะนำให้ถือผ้าเล็กๆ ไปด้วย ที่เค้าเอาไว้คลุมศีรษะ ตอนเดินคุณก็เอามาบังข้างหน้าแล้วกัน พอเดินเข้า ออนเซ็น อันดับแรกสิ่งที่ต้องทำ คือการเอาน้ำราดตัวก่อน ถูสบู่และฟอกตัวให้เรียบร้อย ก่อนลงบ่อ ออนเซ็น เมื่อลงบ่อแล้ว ให้เอาผ้ามาคลุมผมออก เวลา ออนเซ็น จริงๆ ไม่มีใครสนใจกันหรอก แก้ผ้า แช่น้ำแร่ อาบน้ำร้อนแสนสบายอุรา ถือซะว่า เปิดประสบการณ์แปลก ใหม่ ดี สำหรับคุณที่มีรอยสัก บางสถานที่ ออนเซ็น เขาห้ามเข้านะจ๊ะ
ส่วนคุณที่ไม่เคยลงไปแช่น้ำร้อน ออนเซ็น เริ่มแรกให้คุณนั่งอยู่ริมบ่อน้ำร้อนก่อน เพราะน้ำร้อนมากๆ แล้วค้อยๆ ลองหย่อนขาลงไปทีละขา ซักพัก คุณก็ลงไปทั้งตัวเลย พอแช่ไปนานสักพัก คุณจะรู้สึกสบายตัวมากๆ หากมีหลายบ่อ ให้คุณลองย้ายบ่อดูบ้าง เพราะแต่ละบ่อนั้นมีความร้อนไม่เท่ากัน ในออนเซ็น เขามีห้องซาวน่า ห้องนวดตัว พอออกจากซาวน่า แนะนำให้แช่บ่อน้ำเย็น ก่อนจะกลับเข้าห้องพัก คุณจะได้ไม่รู้สึกหนาวมากนัก เพราะช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกาย ออนเซ็น ไม่มีกำหนดว่าต้องแช่นานเท่าไร แต่แนะนำแช่น้ำแร่ประมาณ 45 นาทีก็พอแล้ว
ว่ากันว่า คนญี่ปุ่นเขามีความสุขมากๆ กับกิจกรรมแช่น้ำแร่ อาบน้ำร้อน ออนเซ็น กันจริงๆ ช่างผ่อนคลาย สบายตัว สบายใจ สังเกตุได้จากสีหน้าตาเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข อิ่มเอมใจ ราวกับว่าได้เจอสิ่งที่ใช่ในชีวิตทีเดียว
ลองเปิดประสบการณ์แช่น้ำแร่ร้อน ออนเซ็น ตามแบบฉบับญี่ปุ่น “มัชรูมทราเวล” ขอให้คุณมีความสุขกับ ออนเซ็น ผ่อนคลายและสุขภาพดีถ้วนหน้ากัน แล้วมากระซิบบอกว่าเป็นอย่างไงนะจ๊ะ...
ออนเซ็น...วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น
บ่อน้ำพุร้อน หรือ การอาบน้ำแร่ ที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "ออนเซ็น" คือสถานที่อาบน้ำร้อน (น้ำแร่) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความพิเศษอยู่ที่ เป็นห้องอาบน้ำรวม แยกชาย-หญิง ที่ทุกคนต้องเปลือยเปล่า แล้วลงแช่น้ำร่วมกัน อุณหภูมิของน้ำแร่มีความร้อนประมาณ 45-50 องศา ตามมาตรฐานแบบญี่ปุ่น ซึ่งในหมู่ผู้หญิงญี่ปุ่นเขาลงแช่บ่อน้ำพุร้อนกัน เพราะน้ำแร่นั้นมีแร่ธาตุและสรรพคุณต่างๆ ดีต่อร่างกาย ผิวพรรณ อันส่งผลต่อเรื่องความงาม ในขณะที่ผู้ชายญี่ปุ่นนิยมแช่น้ำแร่ร้อนออนเซ็นเพื่อผ่อนคลายความเครียด สบายตัว ปัจจุบัน "ออนเซ็น" จึงกลายเป็นสถานที่ผ่อนคลายเพื่อสุขภาพ เหมาะสำหรับทุกฤดู โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องไปแช่น้ำพุร้อนเฉพาะหน้าหนาวเท่านั้น
เดิม ออนเซ็น เกิดขึ้นมาจากภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น เพราะเกาะแห่งนี้เป็นผืนแผ่นดิน มีทำเลที่ตั้งอยู่บนบริเวณอ่อนไหวของเปลือกโลก ซึ่งมีภูเขาไฟอยู่หลายแห่งใต้ดิน จึงมีแหล่งน้ำพุร้อนมากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ และเมื่อเย็นตัวลง จะปล่อยแก๊สและไอน้ำออกมา จนกระทั่งกลายเป็นน้ำพุร้อน ประกอบกับญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตหนาว อากาศทั่วไปหนาวเย็น และยิ่งหนาวเหน็บอย่างแสนทรมานช่วงฤดูหนาว บางพื้นที่มีหิมะตกปกคลุมนานหลายเดือน น้ำแร่ร้อนจึงเป็นมรดกอันล้ำค่าจากธรรมชาติที่มอบให้ชาวญี่ปุ่นเกือบทุกจังหวัด และกลายวัฒนธรรมวิถีชีวิตแช่น้ำแร่ อาบน้ำร้อน ปฎิบัติมาแต่โบราณนับพันปี จนกลายเป็นวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น
ว่ากันว่า ทั่วประเทศญี่ปุ่นนั้น มีสถานที่อาบน้ำแร่ร้อน หรือ ออนเซน มากถึง 27,000 แห่งเลยทีเดียว ยังไม่รวมสถานอาบน้ำร้อนที่ใช้น้ำประปาธรรมดา ที่ทำให้ร้อนไว้นอนแช่กัน ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองใหญ่ ที่ไม่มีแหล่งน้ำพุร้อน เรียกกันว่า "เซนโต" อีกมากมายนับพันแห่ง หรือแม้แต่ที่บ้านของชาวญี่ปุ่นก็มักนิยมทำ "โอฟุโระ" หรือ อ่างอาบน้ำร้อน ไว้นอนแช่กันเป็นส่วนตัวภายในครอบครัว ทั้ง ออนเซน และ เซนโต จึงเป็นที่อาบน้ำรวมผู้คนไปใช้บริการอาบน้ำ แช่น้ำ ในอ่างอาบน้ำร่วมกัน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า น้ำแร่ร้อนนี้ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ สรรพคุณดีต่อร่างกาย ผิวพรรณ สวยงาม
สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว เมื่อ ออนเซ็น เขาจะถอดเสื้อผ้าออกทั้งหมด แบบไม่อายกัน แม้เป็นเพื่อนๆ กัน หรือ ไม่รู้จักกัน เขาก็ไม่สนใจ ถือว่า นี่คือการผ่อนคลายเครียดนั่นเอง อาจเป็นเพราะความคุ้นเคยมาแสนนาน เกิดมาก็ออนเซ็น แก้ผ้าโถงๆ อาบน้ำอยู่รวมๆ กันตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เป็นเรื่องเฉยๆ ธรรมดาๆ เราอาจสังเกตุได้ง่ายๆ จากบ้านของคนญี่ปุ่นทั่วไป เขามีห้องอาบน้ำในบ้าน แยกต่างหากกับห้องน้ำ ซึ่งแตกต่างจากกับบ้านคนไทย ที่มีห้องน้ำและที่อาบน้ำรวมกัน จุดนี้เองแสดงให้เห็นว่า คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการแช่น้ำ อาบน้ำกันมาก แม้แต่ในบ้าน เขาก็ยังแช่อ่างน้ำ ในขณะที่คนไทยอาบน้ำด้วยฝักบัว หรืออาบน้ำด้วยขัน
ที่จริงแล้ว วัฒนธรรมการอาบน้ำร่วมกันนั้น มีมาช้านานแล้วในสังคมญี่ปุ่น โดยกล่าวกันว่า การเปลือยกายลงแช่บ่อน้ำพุร้อนมีข้อดี 2 ประการ นั้นคือ
1) ช่วยให้ดื่มด่ำกับคุณประโยชน์ของน้ำพุร้อน และบรรยากาศรอบตัวได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อีกทั้งช่วยให้คนกับธรรมชาติมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น
2) ช่วยลดช่องว่างระหว่างบุคคลกับบุคคล ในสมัยก่อนนักรบหรือซามูไรนั้น มักพกดาบติดตัวตลอดเวลา แต่เมื่อลงแช่น้ำพุร้อน ไม่ว่าคุณเป็นใครมาจากไหน ก็ต้องเปลือยกายปลดอาวุธ และนั่นคือสิ่งที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกว่าทุกคนมีสถานะเท่าเทียมกัน รวมทั้งเกิดความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นที่มาของคำว่า Hadaka no Tsukiai หรือ การคบกันแบบเปิดเปลือยหรือแบบไม่มีวาระปิดบังซ่อนเร้น ช่างเป็นวัฒนธรรมชวนฉงนของชาวญี่ปุ่นแน่แท้...
ดังนั้น การอาบน้ำด้วยการเปลื้องผ้าลงไปแช่ใน ออนเซน ร่วมกัน จึงเป็นเรื่องที่แสนธรรมดา หากว่าคุณมีโอกาสไปแช่ออนเซ็น ก็น่าจะเรียนรู้วิธีปฎิบัติและธรรมเนียมการแช่น้ำร้อนกัน
ข้อควรรู้ และวิธีปฏิบัติและธรรมเนียมการแช่น้ำร้อน
1. ไม่ต้องอาย เพราะการอายทำให้เราดูเป็นตัวประหลาด และเป้าสายตามากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นเค้าทำ อะไรกัน ก็ทำตามเค้า
2. อย่าใส่กางเกงใน เมื่อเข้าไปออนเซ็น เพราะเป็นการกระทำที่สกปรกสำหรับคนที่นั่น ต้องไปแต่ตัวเปล่าเล่าเปลือย พร้อมผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ที่จัดเตรียมให้
3. ก่อนลงแช่น้ำร้อน ให้อาบน้ำทำความสะอาด เพราะหากคุณไม่อาบน้ำ เค้าหาว่าสกปรก
4. ตอนอาบน้ำ ให้ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ผืนเดียว วางปิดส่วนที่อยากปิดไว้ (ที่สำหรับอาบน้ำก่อนแช่น้ำร้อน เป็นแบบนั่งอาบน้ำ)
5. อาบเสร็จ ได้เวลาลงแช่น้ำร้อนออนเซ็น
6. ตอนแช่น้ำร้อน อย่านำผ้าขนหนูผืนเล็กๆ นั่น ลงไปด้วย ให้ลงไปแต่ตัว (เอาผ้าวางไว้ี่ที่ขอบอ่าง, สระหรือบ่อน้ำร้อน หรือไม่ก็วางไว้บนศรีษะ)
7. อย่าถูขี้ไคล เค้าให้คุณอาบน้ำให้สะอาดก่อนแช่ ไม่ได้ให้มาอาบในบ่อน้ำร้อน
8. อย่าว่ายน้ำเล่น หรือทำตัวเปรียบเสมือนอยู่ในสวนน้ำ
9. นั่งแช่ไปเรื่อยๆ เฉยๆ จนรู้สึกอยากขึ้น ก็ขึ้นได้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยแช่ออนเซ็น
สำหรับผู้ที่ไม่เคยแช่ ออนเซ็น อย่าลงไปแช่นานมาก อาจเวียนหัว ระวังเป็นลมซะก่อน เมื่อคุณปรารถนาจะแช่น้ำแร่ร้อน ออนเซ็น คุณสามารถเดินเข้าห้องได้เลย แต่ไม่ต้องแปลกใจนะ หากคุณเห็นคนแก้ผ้าอยู่เต็มไปหมด ทำเฉยๆซะ เดินๆ ไปเรื่อยๆ เพื่อรับผ้าขนหนู ถอดเสื้อผ้าให้หมด แล้วเอาเสื้อผ้าใส่ล๊อคเกอร์ เดินตรงเข้าไปใน ออนเซ็น ได้เลย ถ้าอาย แนะนำให้ถือผ้าเล็กๆ ไปด้วย ที่เค้าเอาไว้คลุมศีรษะ ตอนเดินคุณก็เอามาบังข้างหน้าแล้วกัน พอเดินเข้า ออนเซ็น อันดับแรกสิ่งที่ต้องทำ คือการเอาน้ำราดตัวก่อน ถูสบู่และฟอกตัวให้เรียบร้อย ก่อนลงบ่อ ออนเซ็น เมื่อลงบ่อแล้ว ให้เอาผ้ามาคลุมผมออก เวลา ออนเซ็น จริงๆ ไม่มีใครสนใจกันหรอก แก้ผ้า แช่น้ำแร่ อาบน้ำร้อนแสนสบายอุรา ถือซะว่า เปิดประสบการณ์แปลก ใหม่ ดี สำหรับคุณที่มีรอยสัก บางสถานที่ ออนเซ็น เขาห้ามเข้านะจ๊ะ
ส่วนคุณที่ไม่เคยลงไปแช่น้ำร้อน ออนเซ็น เริ่มแรกให้คุณนั่งอยู่ริมบ่อน้ำร้อนก่อน เพราะน้ำร้อนมากๆ แล้วค้อยๆ ลองหย่อนขาลงไปทีละขา ซักพัก คุณก็ลงไปทั้งตัวเลย พอแช่ไปนานสักพัก คุณจะรู้สึกสบายตัวมากๆ หากมีหลายบ่อ ให้คุณลองย้ายบ่อดูบ้าง เพราะแต่ละบ่อนั้นมีความร้อนไม่เท่ากัน ในออนเซ็น เขามีห้องซาวน่า ห้องนวดตัว พอออกจากซาวน่า แนะนำให้แช่บ่อน้ำเย็น ก่อนจะกลับเข้าห้องพัก คุณจะได้ไม่รู้สึกหนาวมากนัก เพราะช่วยปรับอุณหภูมิของร่างกาย ออนเซ็น ไม่มีกำหนดว่าต้องแช่นานเท่าไร แต่แนะนำแช่น้ำแร่ประมาณ 45 นาทีก็พอแล้ว
ว่ากันว่า คนญี่ปุ่นเขามีความสุขมากๆ กับกิจกรรมแช่น้ำแร่ อาบน้ำร้อน ออนเซ็น กันจริงๆ ช่างผ่อนคลาย สบายตัว สบายใจ สังเกตุได้จากสีหน้าตาเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข อิ่มเอมใจ ราวกับว่าได้เจอสิ่งที่ใช่ในชีวิตทีเดียว
ลองเปิดประสบการณ์แช่น้ำแร่ร้อน ออนเซ็น ตามแบบฉบับญี่ปุ่น “มัชรูมทราเวล” ขอให้คุณมีความสุขกับ ออนเซ็น ผ่อนคลายและสุขภาพดีถ้วนหน้ากัน แล้วมากระซิบบอกว่าเป็นอย่างไงนะจ๊ะ...
วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555
วีซ่าเช็งเก้น หรือ เช็งเก้นวีซ่าคืออะไร
บางคนอาจสงสัยว่า วีซ่าเช็งเก้นคืออะไร ทำไมต้องมีวีซ่าเชงเก้นเข้าประเทศแถบยุโรป คำตอบคือ การที่คุณจะเดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศแถบยุโรป เอกสารสำคัญอย่างหนึ่งที่นำคุณเข้าสู่ประเทศในยุโรปได้ คือ “วีซ่าเช็งเก้น” (Schengen Visa) ฉนั้น วันนี้ “มัชรูมทราเวล” จึงขอเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “วีซ่าเช็งเก้นสำหรับท่องเที่ยว” พร้อมทั้งเอกสารสำคัญอื่นๆ ที่ควรจัดเตรียมก่อนไปเที่ยวยุโรป…
มารู้จักวีซ่าเช็งเก้นสำหรับท่องเที่ยวกัน
วีซ่าเช็งเก้น หรือ เช็งเก้นวีซ่า เป็นวีซ่าที่ใช้ในการเดินทางเข้า - ออก ประเทศในแถบยุโรปที่มีข้อตกลงร่วมกันว่า ถ้าใครถือ วีซ่าเช็งเก้น มาละก็ ต้องอนุญาตให้เดินทางเข้า-ออกประเทศนั้นๆ ถือเป็นวีซ่าที่เหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องมีการเดินทางแบบต่อเนื่อง เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวขอวีซ่าเข้าออกทีละประเทศ
วีซ่าเช็งเก้น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว (Single) หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ (Multiple) แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเช็งเก็น (Schengen)
อย่างไรก็ตาม การทำวีซ่าเช็งเก็น ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุก ๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียงวีซ่าเชงเก็น ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen โดยยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก วีซ่าเชงเก็น ให้คือ ประเทศ อิตาลี)
ประเทศในยุโรปที่อยู่ในข้อตกลงของวีซ่าเช็งเก้น
วีซ่าเช็งเก้น ใช้เดินทางเข้าออกระหว่างประเทศในยุโรป 26 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เช็กรีพับบลิค เดนมาร์ค ฟินแลนด์ เอสโทเนีย ฝรั่งเศส เยอรมันนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลัทเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มัลตา เนเธอแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกต สโลวาเกีย สโลเวเนีย สเปน สวีเดน และสวิสเซอแลนด์
นอกจากนี้ ยังมีประเทศสมาชิก European Economic Area (EEA) แต่ยังไม่สามารถเข้าด้วยวีซ่าเช็งเก้น คือต้องขอวีซ่าแยกต่างหาก และเวลาขอ เช็งเก้น ต้องขอเป็น Multiple Entries เพราะถ้าเข้าประเทศพวกนี้ เท่ากับออกจากเชงเก้นไปแล้ว หากจะกลับเข้ามาใหม่ ต้องมีวีซ่า (ปีในวงเล็บ คือปีที่ขอเข้าเป็นสมาชิก) ได้แก่ Bulgaria (2007), Cyprus (2004) จะเข้า, Ireland (2000), Romania (2007) ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก แต่คาดว่าจะเป็นเช็งเก้นปี 2011, The United Kingdom. (1999) เป็นสมาชิก EU แต่ไม่ใช่เช่เชงเก้น ต้องไปขอวีซ่าอังกฤษ, The Republic of Croatia สมัครเข้าเป็นสมาชิก หากได้รับ Multiple Schengen Visa สามารถเดินทางเข้า Croatia
หลักการในการขอวีซ่านั้น ให้ดูว่าคุณจะเดินทางไปพำนักที่ประเทศไหนในกลุ่มนานที่สุด ก็ให้ไปทำเรื่องยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานทูตนั้น หากพำนักหลายประเทศด้วยจำนวนวันที่เท่ากัน ให้ทำเรื่องยื่นคำร้องขอวิซ่าที่สถานฑูตของประเทศแรกที่เดินทางเข้า
ประเภทของวีซ่าเช็งเก้น (Categories)
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท A เป็นวีซ่าทรานซิท กรณีที่เดินทางทางอากาศ และมีการ stop-over หรือ แวะ ในประเทศที่เป็นเชงเก้น ในระหว่างการเดินทางระหว่างประเทศหนึ่ง ไป อีกประเทศหนึ่ง แต่ถ้าไม่ได้ออกนอกสนามบิน ก็ไม่ต้องขอวีซ่าประเภทนี้
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท B เป็นวีซ่าทรานซิท เช่นกัน คล้ายกับประเภท A แต่ ประเภท B เป็นวีซ่าที่มีอายุไม่เกิน 5 วัน สำหรับผู้ที่ถือพาสสปอร์ต ที่ไม่ได้เป็น visa-free สำหรับประเทศปลายทาง (ที่ไม่ใช่เชงเก้น) เช่น คนไทย จะเดินทางไป สหรัฐอเมริกา ต้องมีวีซ่าอเมริกา กรณีนี้ หากจะแวะ”ผ่าน” ยุโรป สามารถขอวีซ่าประเภทนี้ได้ แต่ได้ไม่เกินครั้งละ 5 วันเท่านั้น
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท C Short-term stay visa วีซ่าเพื่อการพำนักระยะสั้น ส่วนใหญ่แล้ว จะขอเป็นวีซ่าประเภทนี้กัน รวมถึงการเดินทางมาท่องเที่ยวด้วย และวีซ่าประเภทนี้ผู้เดินทางไม่สามารถอยู่ใน EU ได้เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลารวมครึ่งปี (เช่น อาจจะมาหลายครั้งภายใน 6 เดือน ครั้งแรกอยู่ 30 วัน ครั้งสองอยู่ 30 วัน ครั้งที่สาม ถ้ายังอยู่ในระยะหกเดือน ไม่สามารถขอวีซ่าเกิน 30 วันแล้ว เพราะนั่นจะทำให้รวมกันแล้วเกิน 90 วันภายใน 6 เดือน)
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท D วีซ่าประเภทนี้ เป็นVisa แบบ Long Stay อยู่เกิน 90 วัน ส่วนการเดินทางไปประเทศระหว่างกลุ่มเช็งเก้นด้วยกันได้หรือไม่ ก็แล้วแต่กฎระเบียบแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน
เช่น ประเทศเบลเยี่ยมจะต้องอยู่ที่คุณขอไปเท่านั้น ถ้าเป็นวีซ่านักเรียน สถานทูตจะออกวิซ่า type D ให้ คือต้องเข้าเฉพาะเบลเยี่ยม และห้ามออกไปประเทศอื่น จนกว่าจะไปทำเรื่องขอ ID นักเรียนที่เบลเยี่ยมซะก่อน (คือมาถึงที่เบลเยี่ยมแล้ว ให้รีบไปทำเรื่องเลย) พอได้ ID นี้แล้วถึงสามารถเดินทางไปประเทศในกลุ่มเชงเก้นประเทศอื่นได้ แต่ถ้าเป็นวีซ่าเช้งเก้น ประเทศฝรั่งเศส จะสามารถเข้าออกประเทศในกลุ่มเช็งเก้นด้วยกันได้เลย
วีซ่าเช็งเก้น มีอายุเท่าไหร่?
วีซ่าเช็งเก้น มีอายุเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับรายการท่องเที่ยว (Itinerary) ที่คุณจะเดินทาง เช่น คุณเดินทางๆไปยุโรป 15 วัน ก็ได้ วีซ่าเช็งเก้น 15 วัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานฑูตเจ้าหน้าที่
ยกตัวอย่างเช่น การได้วีซ่ามา 1 เดือน ก็หมายความว่าเราจะเดินทางไปเที่ยวประเทศนั้นๆ ได้ภายใน 1 เดือนน่ะ ถ้าเดินทางไปช้ากว่านั้นก็ต้องไปขอใหม่ ฉนั้น หากคุณวางแผนจะไปเที่ยวอีก 5-6 เดือนข้างหน้า ก็ไม่ต้องรีบไปขอ
โดยปกติ การเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าเดินทางในช่วงที่วีซ่ายังมีอายุเดินทางออกไปได้อยู่ ก็สามารถเดินทางไปได้ปกติ แต่การพักอาศัยอยู่ในต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ ตม.ของแต่ละประเทศ เค้าจะแสตมป์ให้
เอกสาร (มาตราฐาน) ที่ใช้ประกอบในการยื่นขอวิซ่าเชงเก้น
• แบบคำร้องที่กรอกและลงลายมือชื่อโดยสมบูรณ์โดยผู้ยื่นคำร้อง
• สำหรับเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ให้พ่อแม่ยื่นแบบคำร้องได้โดยตัวเด็กไม่ต้องมา การกรอกคำร้องของเด็ก ให้กรอกเหมือนของผู้ใหญ่ แต่ช่องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ให้ใส่ Parents และให้เซ็นต์ชื่อทั้งพ่อและแม่ หากพ่อหรือแม่เดินทางไปกับลูกแค่คนเดียว ต้องมีหนังสือยินยอมของพ่อหรือแม่คนที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย โดยหนังสือนี้ต้องไปทำที่ว่าการอำเภอ
• รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 2 นิ้ว 1-2 ใบ (ฉากหลังสีขาวเท่านั้น) สถานทูตบางแห่งจะระบุขนาดหน้าในภาพด้วย เช่น สถานทูตเยอรมัน เวลาไปถ่ายรูปต้องบอกว่ารูปจะนำไปใช้สำหรับการขอเชงเก้นวิซ่า กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับสถานฑูตก่อนถ่ายรูปด้วย
• หนังสือเดินทาง ซึ่งหลังจากเยือนประเทศต่าง ๆ แล้วยังต้องมีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และ สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ
• หลักฐานสำรองเที่ยวบิน ระบุวันเดินทางไปและกลับ (**ห้ามซื้อตั๋วก่อนได้รับวีซ่า**)
• ต้นฉบับหนังสือรับรองการทำงานของผู้ยื่นคำร้อง (สำหรับนักเรียน นักศึกษา : หลักฐานแสดงการศึกษา เช่น หนังสือรับรองสถานภาพนักเรียน นักศึกษา ซึ่งออกโดยโรงเรียน มหาวิทยาลัย
• สำเนาทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า
• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล
• หลักฐานการเงินของผู้ยื่นคำร้องซึ่งแสดงว่าสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในระหว่างการพำนักอยู่ในกลุ่มประเทศเชงเก้นได้ คือ สมุดคู่ฝากเงินธนาคารของผู้ยื่นคำร้องอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปพร้อมสำเนา หรือ หนังสือรับรอง เงินฝากที่ออกโดยธนาคาร (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละประเทศ ซึ่งต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อนยื่นคำขอ)
• ประกันการเดินทาง (Travel Insurance) วงเงิน 2 ล้านขึ้นไป ซึ่งต้องเป็นประกันที่คุ้มครองทั้งทวีปยุโรป ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่ง
• ค่าธรรมเนียมวีซ่าเป็นเงินบาท (ยกเว้นประเทศฮังการี ต้องจ่ายเป็นเงินยูโร) รับเฉพาะเงินสดเท่านั้นต้องเตรียมเงินไปให้พอดี (** ราคาอาจเปลี่ยนแปลง โปรดโทรเช็ค **)
สำหรับคนที่จะไปขอ วีซ่าเช็งเก้น ควรเตรียมตัวให้พร้อม เพราะว่าไม่อย่างนั้นอาจจะถูกปฏิเสธการให้วีซ่าได้ แนะนำว่า คุณควรทำแผนการเดินทางพร้อม กับการสำรองตั๋วเครื่องบินและที่พักไว้ให้สอดคล้องกับแผนการเดินทางของเราไว้ด้วย
ส่วนโรงแรมที่พัก คุณก็สามารถค้นหาและเทียบราคาก่อนจองได้ใน อินเทอร์เน็ตของโรงแรม หรือค้นหาข้อมูลโรงแรมจากอินเทอร์เน็ตได้เอง หรือ ปรึกษาบริษัททัวร์ที่มีมากมายในประเทศ สำหรับการจองที่พัก บางเว็บไซต์ก็ไม่ได้มีการเก็บเงินทั้งก้อนไป เค้าจะเก็บเฉพาะค่า deposit แต่พอเรายกเลิกการจองก็อาจจะเสียแค่ค่า deposit ส่วนบางเว็บอาจจะ charge เราไปทั้งก้อน แต่มีโอกาสให้เรายกเลิก พร้อมคืนเงินให้ทั้งก้อนในช่วงเวลาที่กำหนดให้
การไปยื่นขอวีซ่า คุณจึงควรเตรียมพวกเอกสารการจองตั๋วเครื่องบินและเอกสารการจองที่พักไว้ตามแผนการเดินทางที่เราวางไว้ด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานฑูตเค้าได้เห็นภาพการท่องเที่ยวของเราและเคลิ้มไปกับเรา
ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบให้เรียบร้อยเกี่ยวกับเอกสารการเดินทาง เช่น หนังสือเดินทางต้องไม่หมดอายุก่อนวันเดินทาง 6 เดือน, การเดินทางไปยังประเทศจุดหมายปลายทาง ต้องเดินทางจากประเทศนั้น ก่อนวันหมดอายุ, ในช่วงเดือนเมษายน ตุลาคม ธันวาคม เป็นช่วงที่มีนักเดินทางท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก คุณควรยื่นวีซ่าล่วงหน้าก่อนวันเดินทาง 60 วัน อย่างน้อย
เมื่อคุณได้วีซ่ามาแล้ว ก็คงกินอิ่มนอนหลับแล้วล่ะ “มัชรูมทราเวล” ขอให้โชคดีกันทุกคน แล้วถ้าไปเที่ยวมาแล้วก็มาเล่าให้ฟังบ้าง...
ขอวีซ่า ง่าย สะดวก มั่นใจ ใครๆ ก็ยื่นวีซ่ากับ Mushroom Travel
แผนกวีซ่า มัชรูมทราเวล โทร 02 105 6234 กด 3
วีซ่าเช็งเก้น หรือ เช็งเก้นวีซ่า เป็นวีซ่าที่ใช้ในการเดินทางเข้า - ออก ประเทศในแถบยุโรปที่มีข้อตกลงร่วมกันว่า ถ้าใครถือ วีซ่าเช็งเก้น มาละก็ ต้องอนุญาตให้เดินทางเข้า-ออกประเทศนั้นๆ ถือเป็นวีซ่าที่เหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องมีการเดินทางแบบต่อเนื่อง เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลาไปเที่ยวขอวีซ่าเข้าออกทีละประเทศ
วีซ่าเช็งเก้น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยว ที่เดินทางไปเที่ยวยุโรป หลายประเทศต่อเนื่องกันในทริปเดียว โดยสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่า แบบเดินทางเข้า - ออกครั้งเดียว (Single) หรือเดินทางเข้า - ออกหลายครั้งก็ได้ (Multiple) แต่ทั้งนี้รวมเวลาที่พำนักทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกที่เดินทางเข้าประเทศในกลุ่มสัญญาเช็งเก็น (Schengen)
อย่างไรก็ตาม การทำวีซ่าเช็งเก็น ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียเวลายื่นวีซ่าขอเข้าประเทศ กับทุก ๆ ประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยว มีเพียงวีซ่าเชงเก็น ก็สามารถเข้าได้ทุกประเทศที่เป็นสมาชิก Schengen โดยยื่นคำร้องขอวีซ่าต่อสถานทูตของประเทศที่จะเดินทางเข้าไปเป็นประเทศแรกที่ผู้เดินทาง เดินทางไปถึงยุโรป (ตัวอย่างเช่น เดินทางไป อิตาลี - สวิส - ฝรั่งเศส ประเทศที่จะออก วีซ่าเชงเก็น ให้คือ ประเทศ อิตาลี)
ประเทศในยุโรปที่อยู่ในข้อตกลงของวีซ่าเช็งเก้น
วีซ่าเช็งเก้น ใช้เดินทางเข้าออกระหว่างประเทศในยุโรป 26 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยี่ยม เช็กรีพับบลิค เดนมาร์ค ฟินแลนด์ เอสโทเนีย ฝรั่งเศส เยอรมันนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลัทเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มัลตา เนเธอแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกต สโลวาเกีย สโลเวเนีย สเปน สวีเดน และสวิสเซอแลนด์
นอกจากนี้ ยังมีประเทศสมาชิก European Economic Area (EEA) แต่ยังไม่สามารถเข้าด้วยวีซ่าเช็งเก้น คือต้องขอวีซ่าแยกต่างหาก และเวลาขอ เช็งเก้น ต้องขอเป็น Multiple Entries เพราะถ้าเข้าประเทศพวกนี้ เท่ากับออกจากเชงเก้นไปแล้ว หากจะกลับเข้ามาใหม่ ต้องมีวีซ่า (ปีในวงเล็บ คือปีที่ขอเข้าเป็นสมาชิก) ได้แก่ Bulgaria (2007), Cyprus (2004) จะเข้า, Ireland (2000), Romania (2007) ยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก แต่คาดว่าจะเป็นเช็งเก้นปี 2011, The United Kingdom. (1999) เป็นสมาชิก EU แต่ไม่ใช่เช่เชงเก้น ต้องไปขอวีซ่าอังกฤษ, The Republic of Croatia สมัครเข้าเป็นสมาชิก หากได้รับ Multiple Schengen Visa สามารถเดินทางเข้า Croatia
หลักการในการขอวีซ่านั้น ให้ดูว่าคุณจะเดินทางไปพำนักที่ประเทศไหนในกลุ่มนานที่สุด ก็ให้ไปทำเรื่องยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานทูตนั้น หากพำนักหลายประเทศด้วยจำนวนวันที่เท่ากัน ให้ทำเรื่องยื่นคำร้องขอวิซ่าที่สถานฑูตของประเทศแรกที่เดินทางเข้า
ประเภทของวีซ่าเช็งเก้น (Categories)
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท A เป็นวีซ่าทรานซิท กรณีที่เดินทางทางอากาศ และมีการ stop-over หรือ แวะ ในประเทศที่เป็นเชงเก้น ในระหว่างการเดินทางระหว่างประเทศหนึ่ง ไป อีกประเทศหนึ่ง แต่ถ้าไม่ได้ออกนอกสนามบิน ก็ไม่ต้องขอวีซ่าประเภทนี้
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท B เป็นวีซ่าทรานซิท เช่นกัน คล้ายกับประเภท A แต่ ประเภท B เป็นวีซ่าที่มีอายุไม่เกิน 5 วัน สำหรับผู้ที่ถือพาสสปอร์ต ที่ไม่ได้เป็น visa-free สำหรับประเทศปลายทาง (ที่ไม่ใช่เชงเก้น) เช่น คนไทย จะเดินทางไป สหรัฐอเมริกา ต้องมีวีซ่าอเมริกา กรณีนี้ หากจะแวะ”ผ่าน” ยุโรป สามารถขอวีซ่าประเภทนี้ได้ แต่ได้ไม่เกินครั้งละ 5 วันเท่านั้น
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท C Short-term stay visa วีซ่าเพื่อการพำนักระยะสั้น ส่วนใหญ่แล้ว จะขอเป็นวีซ่าประเภทนี้กัน รวมถึงการเดินทางมาท่องเที่ยวด้วย และวีซ่าประเภทนี้ผู้เดินทางไม่สามารถอยู่ใน EU ได้เกิน 90 วัน ภายในระยะเวลารวมครึ่งปี (เช่น อาจจะมาหลายครั้งภายใน 6 เดือน ครั้งแรกอยู่ 30 วัน ครั้งสองอยู่ 30 วัน ครั้งที่สาม ถ้ายังอยู่ในระยะหกเดือน ไม่สามารถขอวีซ่าเกิน 30 วันแล้ว เพราะนั่นจะทำให้รวมกันแล้วเกิน 90 วันภายใน 6 เดือน)
วีซ่าเช็งเก้น ประเภท D วีซ่าประเภทนี้ เป็นVisa แบบ Long Stay อยู่เกิน 90 วัน ส่วนการเดินทางไปประเทศระหว่างกลุ่มเช็งเก้นด้วยกันได้หรือไม่ ก็แล้วแต่กฎระเบียบแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกัน
เช่น ประเทศเบลเยี่ยมจะต้องอยู่ที่คุณขอไปเท่านั้น ถ้าเป็นวีซ่านักเรียน สถานทูตจะออกวิซ่า type D ให้ คือต้องเข้าเฉพาะเบลเยี่ยม และห้ามออกไปประเทศอื่น จนกว่าจะไปทำเรื่องขอ ID นักเรียนที่เบลเยี่ยมซะก่อน (คือมาถึงที่เบลเยี่ยมแล้ว ให้รีบไปทำเรื่องเลย) พอได้ ID นี้แล้วถึงสามารถเดินทางไปประเทศในกลุ่มเชงเก้นประเทศอื่นได้ แต่ถ้าเป็นวีซ่าเช้งเก้น ประเทศฝรั่งเศส จะสามารถเข้าออกประเทศในกลุ่มเช็งเก้นด้วยกันได้เลย
วีซ่าเช็งเก้น มีอายุเท่าไหร่?
วีซ่าเช็งเก้น มีอายุเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับรายการท่องเที่ยว (Itinerary) ที่คุณจะเดินทาง เช่น คุณเดินทางๆไปยุโรป 15 วัน ก็ได้ วีซ่าเช็งเก้น 15 วัน หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานฑูตเจ้าหน้าที่
ยกตัวอย่างเช่น การได้วีซ่ามา 1 เดือน ก็หมายความว่าเราจะเดินทางไปเที่ยวประเทศนั้นๆ ได้ภายใน 1 เดือนน่ะ ถ้าเดินทางไปช้ากว่านั้นก็ต้องไปขอใหม่ ฉนั้น หากคุณวางแผนจะไปเที่ยวอีก 5-6 เดือนข้างหน้า ก็ไม่ต้องรีบไปขอ
โดยปกติ การเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ถ้าเดินทางในช่วงที่วีซ่ายังมีอายุเดินทางออกไปได้อยู่ ก็สามารถเดินทางไปได้ปกติ แต่การพักอาศัยอยู่ในต่างประเทศจะขึ้นอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ ตม.ของแต่ละประเทศ เค้าจะแสตมป์ให้
เอกสาร (มาตราฐาน) ที่ใช้ประกอบในการยื่นขอวิซ่าเชงเก้น
• แบบคำร้องที่กรอกและลงลายมือชื่อโดยสมบูรณ์โดยผู้ยื่นคำร้อง
• สำหรับเด็กอายุไม่ถึง 18 ปี ให้พ่อแม่ยื่นแบบคำร้องได้โดยตัวเด็กไม่ต้องมา การกรอกคำร้องของเด็ก ให้กรอกเหมือนของผู้ใหญ่ แต่ช่องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ให้ใส่ Parents และให้เซ็นต์ชื่อทั้งพ่อและแม่ หากพ่อหรือแม่เดินทางไปกับลูกแค่คนเดียว ต้องมีหนังสือยินยอมของพ่อหรือแม่คนที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย โดยหนังสือนี้ต้องไปทำที่ว่าการอำเภอ
• รูปถ่ายปัจจุบันขนาด 2 นิ้ว 1-2 ใบ (ฉากหลังสีขาวเท่านั้น) สถานทูตบางแห่งจะระบุขนาดหน้าในภาพด้วย เช่น สถานทูตเยอรมัน เวลาไปถ่ายรูปต้องบอกว่ารูปจะนำไปใช้สำหรับการขอเชงเก้นวิซ่า กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับสถานฑูตก่อนถ่ายรูปด้วย
• หนังสือเดินทาง ซึ่งหลังจากเยือนประเทศต่าง ๆ แล้วยังต้องมีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และ สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ
• หลักฐานสำรองเที่ยวบิน ระบุวันเดินทางไปและกลับ (**ห้ามซื้อตั๋วก่อนได้รับวีซ่า**)
• ต้นฉบับหนังสือรับรองการทำงานของผู้ยื่นคำร้อง (สำหรับนักเรียน นักศึกษา : หลักฐานแสดงการศึกษา เช่น หนังสือรับรองสถานภาพนักเรียน นักศึกษา ซึ่งออกโดยโรงเรียน มหาวิทยาลัย
• สำเนาทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่า
• สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล
• หลักฐานการเงินของผู้ยื่นคำร้องซึ่งแสดงว่าสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในระหว่างการพำนักอยู่ในกลุ่มประเทศเชงเก้นได้ คือ สมุดคู่ฝากเงินธนาคารของผู้ยื่นคำร้องอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปพร้อมสำเนา หรือ หนังสือรับรอง เงินฝากที่ออกโดยธนาคาร (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละประเทศ ซึ่งต้องตรวจสอบรายละเอียดก่อนยื่นคำขอ)
• ประกันการเดินทาง (Travel Insurance) วงเงิน 2 ล้านขึ้นไป ซึ่งต้องเป็นประกันที่คุ้มครองทั้งทวีปยุโรป ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่ง
• ค่าธรรมเนียมวีซ่าเป็นเงินบาท (ยกเว้นประเทศฮังการี ต้องจ่ายเป็นเงินยูโร) รับเฉพาะเงินสดเท่านั้นต้องเตรียมเงินไปให้พอดี (** ราคาอาจเปลี่ยนแปลง โปรดโทรเช็ค **)
สำหรับคนที่จะไปขอ วีซ่าเช็งเก้น ควรเตรียมตัวให้พร้อม เพราะว่าไม่อย่างนั้นอาจจะถูกปฏิเสธการให้วีซ่าได้ แนะนำว่า คุณควรทำแผนการเดินทางพร้อม กับการสำรองตั๋วเครื่องบินและที่พักไว้ให้สอดคล้องกับแผนการเดินทางของเราไว้ด้วย
ส่วนโรงแรมที่พัก คุณก็สามารถค้นหาและเทียบราคาก่อนจองได้ใน อินเทอร์เน็ตของโรงแรม หรือค้นหาข้อมูลโรงแรมจากอินเทอร์เน็ตได้เอง หรือ ปรึกษาบริษัททัวร์ที่มีมากมายในประเทศ สำหรับการจองที่พัก บางเว็บไซต์ก็ไม่ได้มีการเก็บเงินทั้งก้อนไป เค้าจะเก็บเฉพาะค่า deposit แต่พอเรายกเลิกการจองก็อาจจะเสียแค่ค่า deposit ส่วนบางเว็บอาจจะ charge เราไปทั้งก้อน แต่มีโอกาสให้เรายกเลิก พร้อมคืนเงินให้ทั้งก้อนในช่วงเวลาที่กำหนดให้
การไปยื่นขอวีซ่า คุณจึงควรเตรียมพวกเอกสารการจองตั๋วเครื่องบินและเอกสารการจองที่พักไว้ตามแผนการเดินทางที่เราวางไว้ด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่สถานฑูตเค้าได้เห็นภาพการท่องเที่ยวของเราและเคลิ้มไปกับเรา
ที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบให้เรียบร้อยเกี่ยวกับเอกสารการเดินทาง เช่น หนังสือเดินทางต้องไม่หมดอายุก่อนวันเดินทาง 6 เดือน, การเดินทางไปยังประเทศจุดหมายปลายทาง ต้องเดินทางจากประเทศนั้น ก่อนวันหมดอายุ, ในช่วงเดือนเมษายน ตุลาคม ธันวาคม เป็นช่วงที่มีนักเดินทางท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก คุณควรยื่นวีซ่าล่วงหน้าก่อนวันเดินทาง 60 วัน อย่างน้อย
เมื่อคุณได้วีซ่ามาแล้ว ก็คงกินอิ่มนอนหลับแล้วล่ะ “มัชรูมทราเวล” ขอให้โชคดีกันทุกคน แล้วถ้าไปเที่ยวมาแล้วก็มาเล่าให้ฟังบ้าง...
ขอวีซ่า ง่าย สะดวก มั่นใจ ใครๆ ก็ยื่นวีซ่ากับ Mushroom Travel
- ง่าย! ประหยัดเวลาในการเตรียมเอกสารสำหรับยื่นขอวีซ่าที่รวดเร็ว สมบูรณ์ครบถ้วน
- สะดวก! ด้วยบริการแมสเซนเจอร์รับ-ส่งเอกสารถึงที่ พร้อมจองคิวยื่นวีซ่าและนำท่านไปยื่นวีซ่าถึงสถานทูตด้วยตัวเอง
- มั่นใจ! ด้วยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ตั้งแต่การเตรียมเอกสาร บริการตรวจทานเอกสารเพื่อการยื่นขอที่ถูกต้อง จนถึงติวการสัมภาษณ์
- เพียบพร้อม! ด้วยบริการแบบครบวงจร ตั้งแต่ตั๋วเครื่องบิน โรงแรม ประกันภัยการเดินทาง จนถึงแปลภาษาในที่เดียว
แผนกวีซ่า มัชรูมทราเวล โทร 02 105 6234 กด 3
“การทำเอกสารประกอบวีซ่าต้องถูกต้องสมบูรณ์ เสร็จทันเวลาก่อนลูกค้าเดินทาง นี่คือ หน้าที่ของเรา”
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)