นับว่าเป็นข่าวใหญ่ที่น่าตื่นเต้นมากๆเลยค่ะ เมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยสั่งซื้อรถไฟตู้นอนล็อตใหม่และล็อตใหญ่มาจากประเทศจีนถึง 115 คัน ซึ่งนี่เป็นการซื้อรถไฟตู้นอนแบบใหม่เอี่ยมครั้งแรกในรอบ 20 ปีของไทยเลยทีเดียว!
รถโดยสารปรับอากาศทั้ง 115 คันนี้ ผลิตโดยบริษัท CNR Changchun Railway Vehicles Co., Ltd (โรงงานฉางชุน) สาธารณรัฐประชาชนจีนค่ะ แม้ในปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยจะมีรถไฟตู้นอนให้บริการอยู่แล้ว แต่เนื่องจากรถไฟตู้นอนแบบเดิมมีอายุการใช้งานมากจึงได้เวลาหาของใหม่มาใช้แทนของเก่านั่นเอง ก่อนอื่น มัชรูมทราเวลจะพาไปทำความรู้จักกับเจ้ารถไฟใหม่นี้กันก่อน ว่ามีความพิเศษและอลังวังเว่อร์ยังไงบ้างค่ะ
สำหรับรถโดยสารปรับอากาศจำนวน 115 คันนี้ ประกอบไปด้วย
1. ตู้นอนชั้นหนึ่ง (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1) จำนวน 9 คัน
2. ตู้นอนชั้นสอง (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2) จำนวน 88 คัน โดยในจำนวนนี้มี 9 คันที่มีระบบอำนวยความ
สะดวกให้ผู้ใช้รถเข็นและผู้สูงอายุ
3. ตู้เสบียง (รถปรับอากาศขายอาหาร) จำนวน 9 คัน และ
4. รถผลิตกระแสไฟฟ้า (รถปรับอากาศไฟฟ้ากำลัง) จำนวน 9 คัน
รถเหล่านี้จะถูกนำมาเรียงต่อกันเป็นขบวนค่ะ โดยในการให้บริการต่อ 1 ขบวน จะมีตู้ต่างๆเป็นชุด ประกอบด้วย ตู้นอนชั้นหนึ่ง 1 คัน ตู้นอนชั้นสอง 9 คัน ตู้นอนชั้นสองที่มีระบบรองรับรถเข็นสำหรับผู้พิการ 1 คัน ตู้เสบียง 1 คัน ตู้ไฟฟ้ากำลัง1 คัน รวมเป็น 13 คัน (ไม่รวมหัวจักรที่ใช้ลาก) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 420 ที่นั่ง
2. ตู้นอนชั้นสอง (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2) จำนวน 88 คัน โดยในจำนวนนี้มี 9 คันที่มีระบบอำนวยความ
สะดวกให้ผู้ใช้รถเข็นและผู้สูงอายุ
3. ตู้เสบียง (รถปรับอากาศขายอาหาร) จำนวน 9 คัน และ
4. รถผลิตกระแสไฟฟ้า (รถปรับอากาศไฟฟ้ากำลัง) จำนวน 9 คัน
รถเหล่านี้จะถูกนำมาเรียงต่อกันเป็นขบวนค่ะ โดยในการให้บริการต่อ 1 ขบวน จะมีตู้ต่างๆเป็นชุด ประกอบด้วย ตู้นอนชั้นหนึ่ง 1 คัน ตู้นอนชั้นสอง 9 คัน ตู้นอนชั้นสองที่มีระบบรองรับรถเข็นสำหรับผู้พิการ 1 คัน ตู้เสบียง 1 คัน ตู้ไฟฟ้ากำลัง1 คัน รวมเป็น 13 คัน (ไม่รวมหัวจักรที่ใช้ลาก) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 420 ที่นั่ง
สำหรับความทันสมัยและความพิเศษที่น่าสนใจของรถไฟล็อตใหม่นี้ก็คือออ
1. จอ LCD สุดไฮเทค
รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 1 มีการติดตั้งจอ LCD ระบบสัมผัส ขนาด 14 นิ้ว สำหรับผู้โดยสารทุกที่นั่ง จะเรียกว่าเป็นจอ LCD ส่วนตัวก็ว่าได้ เพื่อแจ้งข่าวสาร แสดงสถานะว่าตอนนี้รถไฟถึงสถานีไหน และมีระบบมัลติมีเดียเพื่อความบันเทิงระหว่างการเดินทาง นอกจากนี้ก็ยังมีระบบนาฬิกาปลุก ที่สามารถตั้งปลุกได้ทั้งตามเวลาและตามสถานี รวมถึงยังสามารถใช้หน้าจอนี้เพื่อกดสั่งอาหารจากตู้เสบียงได้โดยตรง จากนั้นจะมีพนักงานนำอาหารมาเสิร์ฟให้ถึงที่เลยค่ะ ส่วนรถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 มีการติดตั้งจอ LCD ขนาดใหญ่ 4 จอ ไว้เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้โดยสาร เช่น การแจ้งตำแหน่งสถานี ตำแหน่งรถ แจ้งเตือนระยะเวลาถึงสถานีปลายทาง และมีวิดีโอต่างๆ ฉายวนไปแบบจอรวมในเครื่องบินค่ะ
2. มีระบบอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้รถเข็น
รถไฟทุกขบวนจะมี 1 ตู้ที่มีระบบอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถเข็นตามมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำขนาดใหญ่ที่เอารถเข็นเข้าไปได้ ทางเดินกว้างขวาง และลิฟต์บริเวณประตูที่ยกรถเข็นขึ้นลงพื้นชานชาลาได้ทุกแบบ นอกจากนี้ยังมีบริการวีลแชร์สำรองสำหรับผู้พิการและผู้สูงวัย และอักษรเบรลล์สำหรับผู้พิการทางสายตาอีกด้วยค่ะ
3. มีห้องอาบน้ำสำหรับตู้นอนชั้น 1
ห้องอาบน้ำที่ไม่ได้มีแค่ฝักบัวธรรมดาๆ แต่มาพร้อมน้ำอุ่นเลยค่ะ
4. มีปลั๊กไฟทุกที่นั่ง
ต่อไปนี้ก็โบกลาปัญหาแบตเตอรี่มือถือหรือคอมพิวเตอร์โน้ตบุคหมดได้เลย
5. สุขาระบบปิด
รถไฟชุดปัจจุบันที่ใช้กันอยู่อย่างที่พวกเราเคยเห็นเป็นสุขาระบบเปิดค่ะ คือของเสียจากสุขาจะถูกปล่อยลงบน
ทางรถไฟ แต่รถไฟชุดนี้มีระบบเก็บของเสียที่มิดชิด ระบบสุญญากาศแบบเครื่องบินทำให้สามารถใช้บริการสุขาได้ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่รถจอดอยู่ที่สถานี
ทางรถไฟ แต่รถไฟชุดนี้มีระบบเก็บของเสียที่มิดชิด ระบบสุญญากาศแบบเครื่องบินทำให้สามารถใช้บริการสุขาได้ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่รถจอดอยู่ที่สถานี
6. มีกล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความปลอดภัยทุกตู้!
รถแต่ละคันจะมีกล้องวงจรปิดติดตั้งไว้โดยรอบ ตู้ละ 4 กล้องเพื่อช่วยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร
7. เทคโนโลยีใหม่
รถไฟชุดนี้มีเทคโนโลยีใหม่หลายอย่าง เช่น ระบบการผลิตไฟฟ้าจาก Power Car แล้วจ่ายไฟฟ้าให้ทั้งขบวนรวมทั้งระบบแอร์ที่เชื่อมทั้งขบวนเข้าด้วยกัน จึงทำให้ประหยัดพลังงาน (เดิมในรถทุกคันของการรถไฟ จะมีเครื่องปั่นไฟสำหรับจ่ายไฟและระบบปรับอากาศในตัว) และด้วยระบบกันสะเทือนแบบรถไฟความเร็วสูงทำให้เงียบกว่ารถแบบเดิม ส่วนระบบเบรกก็เปลี่ยนมาใช้ระบบดิสก์เบรกแบบเดียวกับรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าจึงมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แถมข้อต่อของรถก็เป็นแบบใหม่สามารถเดินทะลุได้ทั้งขบวน (ยกเว้นรถไฟฟ้ากำลัง และรถนอนชั้น 1 ที่จะมีประตูเชื่อมตู้แค่ฝั่งเดียว) ประตูสัมผัสเพื่อเปิดระหว่างตู้ ข้อต่อสนิทแบบรถไฟฟ้า
BTS
8. เร็วขึ้น ถึงไวกว่าเดิม
รถไฟชุดนี้ตัวโบกี้สามารถรองรับการทำความเร็วได้สูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่จะวิ่งอยู่ที่ 90-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในการให้บริการค่ะ นอกจากนี้ยังหยุดจอดน้อยลงกว่าเดิมซึ่งจะยิ่งทำให้ถึงที่หมายปลายทางเร็วกว่าเดิม
และข่าวดีก็คือ พวกเราใกล้จะได้ใช้บริการรถไฟรุ่นใหม่ล่าสุดกันแล้ววววว เพราะรถไฟรุ่นใหม่นี้จะเปิดเดินรถเที่ยวแรกในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ค่ะ โดยจะเริ่มให้บริการเส้นทาง “ อุตราวิถี ” กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ และเส้นทาง “อีสานวัตนา” กรุงเทพ-อุบลราชธานี-กรุงเทพ ก่อน เพื่อนๆ สามารถจองตั๋วโดยสารได้แล้วตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม เป็นต้นไป ส่วนอีก 2 เส้นทาง คือ “อีสานมรรคา” กรุงเทพ-หนองคาย-กรุงเทพ และเส้นทาง “ทักษิณารัถย์” กรุงเทพ-หาดใหญ่-กรุงเทพ จะเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2559 โดยใน 2 เส้นทางหลังนั้นเริ่มเปิดให้จองตั๋วโดยสารแล้วตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไปค่ะ
สำหรับรถไฟเส้นทาง “ อุตราวิถี 9” หรือกรุงเทพ-เชียงใหม่ สถานีต้นทางคือ สถานีกรุงเทพหรือหัวลำโพงค่ะ ส่วนสถานีปลายทางจะไปสิ้นสุดที่สถานีเชียงใหม่ ตารางเวลาของขบวนรถไฟ อุตราวิถี 9 รถไฟจะออกจากสถานีกรุงเทพเวลา 18.10 น. และจะถึงที่สถานีปลายทาง คือสถานีเชียงใหม่เวลา 07.15 น. ส่วนขบวนรถไฟ อุตราวิถี 10 เส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพฯ จะออกจากสถานีเชียงใหม่
อัตราค่าโดยสารสำหรับรถนอนปรับอากาศชั้น 1 คือ เตียงบน 1,253 บาท เตียงล่าง 1,453 บาท ส่วนอัตราค่าโดยสารรถนอนปรับอากาศชั้น 2 เตียงบน 791 บาท และเตียงล่าง 881 บาทค่ะ
เอาล่ะค่ะ เมื่อทำความรู้จักกับรถไฟใหม่แล้ว เราก็ถึงเวลามาเที่ยวเมืองเชียงใหม่กันนนน!
การเดินทางจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ หากมากันหลายคน สามารถเช่ารถยนต์เพื่อขับเที่ยวในตัวจังหวัดได้ค่ะ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เช่ารถ จากสถานีรถไฟจะมีรถสองแถวสีแดง หรือที่เรียกกันว่ารถแดง จอดรออยู่สามารถนั่งเข้ามาในตัวเมืองได้เลยค่ะ และต่อไปนี้คือสถานที่ท่องเที่ยวที่มัชรูมทราเวลขอแนะนำ และขีดเส้นใต้หนาๆ 3 เส้นเลยว่าห้ามพลาดค่ะ!
เอาล่ะค่ะ เมื่อทำความรู้จักกับรถไฟใหม่แล้ว เราก็ถึงเวลามาเที่ยวเมืองเชียงใหม่กันนนน!
การเดินทางจากสถานีรถไฟเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ หากมากันหลายคน สามารถเช่ารถยนต์เพื่อขับเที่ยวในตัวจังหวัดได้ค่ะ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้เช่ารถ จากสถานีรถไฟจะมีรถสองแถวสีแดง หรือที่เรียกกันว่ารถแดง จอดรออยู่สามารถนั่งเข้ามาในตัวเมืองได้เลยค่ะ และต่อไปนี้คือสถานที่ท่องเที่ยวที่มัชรูมทราเวลขอแนะนำ และขีดเส้นใต้หนาๆ 3 เส้นเลยว่าห้ามพลาดค่ะ!
1. พระธาตุดอยสุเทพ
ปูชนียสถานคู่เมืองเชียงใหม่นับตั้งแต่โบราณกาล นักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางมาที่เชียงใหม่จะต้องขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุกันแทบทุกคน ถ้าหากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้วถือเสมือนว่ายังมาไม่ถึงเชียงใหม่ เชื่อกันว่าหากมาสักการะและอธิษฐานขอพรพระธาตุดอยสุเทพ จะมีแต่ความสำเร็จสมหวังดังปรารถนา แคล้วคลาดและผ่านอุปสรรคต่างๆไปได้ ในการสักการะพระธาตุนั้น ควรเตรียมข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน แล้วเดินเวียนขวา 3 รอบ พร้อมกล่าวคำนมัสการพระธาตุ โดยตั้งจิตอธิษฐานขอให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา และควรไหว้พระธาตุให้ครบทั้ง 4 ทิศค่ะ สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อได้มานมัสการพระธาตุดอยสุเทพแล้ว ควรมากราบอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงดอยสุเทพเพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
เวลาเปิด-ปิด : 05.00-21.00 น. (ทุกวัน)
ระดับความน่าไป : ☆☆☆☆☆
การเดินทาง : จากตัวเมืองสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยและสวนสัตว์เชียงใหม่ เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น. ค่ะ
พิกัด :
ระดับความน่าไป : ☆☆☆☆☆
การเดินทาง : จากตัวเมืองสามารถเดินทางโดยใช้เส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยและสวนสัตว์เชียงใหม่ เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่างทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิงดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่มีรถส่วนตัวสามารถเดินทางมาที่วัดโดยรถสองแถวประจำทางจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้านถนนห้วยแก้ว ซึ่งบริการระหว่างเวลาประมาณ 05.00-17.00 น. ค่ะ
พิกัด :
2. ขุนช่างเคี่ยน
อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตในฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ค่ะ ขุนช่างเคี่ยนหรือสถานีวิจัยฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยอยู่ในเส้นทางเดียวกันกับพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ค่ะ ไฮไลท์ของที่นี่คือ ต้นนางพญาเสือโคร่งหรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย ที่จะออกดอกสีชมพูสดใสบานสะพรั่งทั่วทั้งบริเวณศูนย์วิจัย ใครที่ได้ไปเห็นภาพนี้ต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สวย เคลิ้ม มาก ค่ะ !! ที่นี่นับว่าเป็นที่เด็ดของคนรักธรรมชาติและผู้ที่รักการถ่ายภาพมากๆเลยทีเดียว สำหรับช่วงเวลาที่ต้นนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกคือเฉพาะช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคมเท่านั้นนะ ดังนั้นถ้าไม่อยากพลาดช่วงนี้ เพื่อนๆ ควรตรวจสอบช่วงเวลาการออกดอกของต้นนางพญาเสือโคร่งจากสถานีวิจัยเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยนก่อนการเดินทางจะดีที่สุดค่ะ
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน
ระดับความน่าไป : ☆☆☆☆☆
วิธีเดินทาง : สามารถใช้เส้นทางถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ขึ้นดอยสุเทพ ผ่านพระตำหนักภูพิงค์ แยกขวาที่สามแยกไปหมู่บ้านม้งดอยปุย จากนั้นเลี้ยวไปขุนช่างเคี่ยนประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถเดินทางโดยรถยนต์หรือเช่ารถสองแถวที่เชิงดอยสุเทพได้ค่ะ
พิกัด :
ระดับความน่าไป : ☆☆☆☆☆
วิธีเดินทาง : สามารถใช้เส้นทางถนนห้วยแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ขึ้นดอยสุเทพ ผ่านพระตำหนักภูพิงค์ แยกขวาที่สามแยกไปหมู่บ้านม้งดอยปุย จากนั้นเลี้ยวไปขุนช่างเคี่ยนประมาณ 30 กิโลเมตร โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถเดินทางโดยรถยนต์หรือเช่ารถสองแถวที่เชิงดอยสุเทพได้ค่ะ
พิกัด :
3. กิ่วแม่ปาน
อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถือเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกที่สวยงามอีกจุดหนึ่งของดอยอินททนท์ค่ะ เส้นทางช่วงแรกจะต้องเดินผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไร ทางเดินขึ้นเขาจนทะลุออกไปยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแดดจ้าและลมแรงมาจนถึงจุดชมวิวสูงสุด ถัดจากจุดชมวิวไปจะเป็นทางเดินเลียบไปตามสันเขาเลียบหน้าผา มีความกว้างเพียงประมาณ 1 เมตร สามารถเดินได้เพียงคนเดียว! จึงเป็นที่มาของชื่อ “กิ่วแม่ปาน” นั่นเองค่ะ
เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา 06.00-16.00น. (กรุ๊ปสุดท้ายให้ขึ้นได้ไม่เกิน 16.00น.) โดยเปิดให้เข้าตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน ถึง 31 พฤษภาคมของทุกปี (ปิดบริการ 1 มิถุนายน ถึง 31 ตุลาคม เพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว)
ระดับความน่าไป : ☆☆☆☆
การเดินทาง : จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่ -ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมดประมาณ 50 กิโลเมตร
พิกัด :
ระดับความน่าไป : ☆☆☆☆
การเดินทาง : จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่ -ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมดประมาณ 50 กิโลเมตร
พิกัด :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น