โดยสถานที่สุดสะพรึงที่มัชรูมทราเวลอยากแนะนำให้ท่านได้รู้จักในครั้งนี้ไม่ใช่สวนสนุกที่ไหน หรือเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่แต่อย่างใด แต่ที่นี่คือเมืองพรีเพียต (Pripyat) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองผีของเชอร์โนบิล เนื่องจากมันถูกทิ้งร้างไว้เกือบ 3 ทศวรรษ นับตั้งแต่เหตุการณ์แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลใกล้เมืองพรีเพียตที่อยู่ทางตอนเหนือของยูเครน เกิดการระเบิดขึ้นจากการทำงานผิดพลาดของวิศวกรและคนงาน ยังผลให้เกิดเถ้าถ่านและฝุ่นละอองของกัมมันตภาพรังสีปลิวฟุ้งกระจายไปทั่วท้องฟ้าทางตอนเหนือของสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันตก เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 ในเวลา 01.23 น. จนกระทั่งทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซียต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน โดยมียอดของผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิดจำนวน 56 คน ส่วนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีในครั้งนี้อาจสูงถึง 4,000 คนเลยทีเดียว
Menu Blog
▼
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557
One day trip in Chernobyl วันเดียวตะลุยเที่ยวเมืองผีแห่งเชอร์โนบิล
สำหรับนักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาสถานที่อันน่าตื่นเต้นระทึกใจ ในขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่ที่เงียบสงบ เงียบจนกระทั่งได้ยินแม้เสียงลมหายใจของตัวเอง และเสียงนกที่อยู่ห่างออกไปไกลแสนไกล และแม้ว่าจะเป็นช่วงเวลาไพร์มไทม์ที่ผู้คนต้องเร่งรีบออกจากบ้านเพื่อไปให้ถึงที่ทำงานให้ทันเวลา แต่ที่นี่ถนนสายหลักทุกสายกลับว่างเปล่า ดูคล้ายกับฉากในซีรีย์เรื่องดังของฝั่งอเมริกาอย่าง The Walking Dead เสียอย่างนั้น
โดยสถานที่สุดสะพรึงที่มัชรูมทราเวลอยากแนะนำให้ท่านได้รู้จักในครั้งนี้ไม่ใช่สวนสนุกที่ไหน หรือเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่แต่อย่างใด แต่ที่นี่คือเมืองพรีเพียต (Pripyat) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองผีของเชอร์โนบิล เนื่องจากมันถูกทิ้งร้างไว้เกือบ 3 ทศวรรษ นับตั้งแต่เหตุการณ์แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลใกล้เมืองพรีเพียตที่อยู่ทางตอนเหนือของยูเครน เกิดการระเบิดขึ้นจากการทำงานผิดพลาดของวิศวกรและคนงาน ยังผลให้เกิดเถ้าถ่านและฝุ่นละอองของกัมมันตภาพรังสีปลิวฟุ้งกระจายไปทั่วท้องฟ้าทางตอนเหนือของสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันตก เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 ในเวลา 01.23 น. จนกระทั่งทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซียต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน โดยมียอดของผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิดจำนวน 56 คน ส่วนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีในครั้งนี้อาจสูงถึง 4,000 คนเลยทีเดียว
เมื่อเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 แห่งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลเกิดการระเบิดขึ้นในเดือนเมษายนปี 1986 เมืองพรีเพียตซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเคียฟอันเป็นเมืองหลวงของยูเครนประมาณ 60 ไมล์ และตั้งอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าแห่งนี้มากที่สุดก็ได้กลายเป็นเมืองร้างนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งเมืองพรีเพียตมีประชากรอาศัยอยู่ทั้งหมดกว่า 50,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนงานที่ประกอบอาชีพภายในโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลนั่นเอง แต่หลังจากเหตุการณ์ระทึกขวัญ ชาวเมืองทั้งหมดก็ได้ถูกอพยพออกไปอย่างฉุกเฉินภายในเวลา 36 ชั่วโมง โดยที่พวกเขาไม่ได้เตรียมตัวและเตรียมใจที่จะละทิ้งบ้านและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เอาไว้เบื้องหลังแต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่ทราบมาก่อนเลยว่าพวกเขาจะไม่ได้กลับมาเยือนที่นี่อีกเลยจนกระทั่งปัจจุบันนี้
เมื่อเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านจนย่างเข้าสู่ปีที่ 25 ของอุบัติภัยครั้งร้ายแรงในประวัติศาสตร์โลก การท่องเที่ยวยูเครนก็ได้ออกประกาศว่า สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบในการเสี่ยงภัยและต้องการเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศภายในเขตพื้นที่เชอร์โนบิล สามารถเดินทางเข้าไปภายในเมืองพรีเพียตได้ในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งนี้ยกเว้นในเขตพื้นที่ประมาณ 30 ไมล์ รอบๆ เครื่องปฏิกรณ์ที่เกิดระเบิดเท่านั้นที่ห้ามเข้าไปอย่างเด็ดขาด โดยทุกวันจะมีรถบัสคันเล็กๆ พานักท่องเที่ยวเข้าไปยังเขตหวงห้ามที่อนุญาตให้เข้าได้เฉพาะเจ้าหน้าที่เท่านั้น จากนั้นนักท่องเที่ยวจะได้รับเอกสารคนละหนึ่งชุดและต้องเซ็นรับทราบว่าจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับทุกอย่างเพื่อป้องกันการได้รับรังสีปนเปื้อนนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ห้ามรับประทานอาหารและสูบบุหรี่ข้างใน ห้ามแตะต้องของทุกอย่าง และห้ามนั่งหรือวางสิ่งของบนพื้น เป็นต้น โดยนิตยสารฟอร์บส์ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินของสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่า เชอร์โนบิลคือสถานที่พิเศษหนึ่งเดียวในโลกที่จะเปลี่ยนวิถีความคิดของผู้ที่ไปเยือนไปตลอดกาล ซึ่งในปีแรกของการท่องเที่ยวเชอร์โนบิลนั้นมียอดของนักท่องเที่ยวสูงถึง 7,500 คนเลยทีเดียว ซึ่งสนนราคาค่าทัวร์ต่อคนนั้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท
เมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางถึงที่หมายแล้ว สิ่งแรกที่เรียกความสนใจให้ทุกคนที่มาเยือนต่างยกกล้องถ่ายรูปคู่ใจบันทึกภาพจนมือเป็นระวิงก็คือ ภาพของเตาปฏิกรณ์ที่เคยเกิดการระเบิด จากนั้นทั้งหมดจึงมุ่งหน้าสู่เมืองพรีเพียตที่กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งในยูเครนซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอดีตโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลเพียง 2 ไมล์เท่านั้น โดยปัจจุบันที่นี่ได้กลายเป็นเมืองร้างไปอย่างถาวร แม้ว่าสภาพของเมืองจะยังคงอยู่ในสภาพเดิมดังเช่นยี่สิบกว่าปีก่อนก็ตาม ด้วยป้ายในยุคโซเวียตที่ยังคงแขวนอยู่ตามตึกต่างๆ สวนสนุกซึ่งเครื่องเล่นสารพัดอย่างเขรอะไปด้วยสนิม หนังสือและของเล่นมากมายที่ถูกไว้ภายในอพาร์ตเมนต์ หน้ากากป้องกันแก๊สพิษจำนวนหลายพันชิ้นถูกทิ้งไว้เกลื่อนพื้นโรงอาหารของโรงเรียนที่ภายในชั้นเรียนยังคงติดโปสเตอร์โครงงานในวิชาต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ ภาษารัสเซีย และวิทยาศาสตร์ไว้ตามฝาผนัง ส่วนในเรื่องของระบบนิเวศวิทยานั้น แม้พืชพรรณและสัตว์ป่าอาจจะไม่ได้รับผลกระทบ 100% เต็มเฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่อำนาจของรังสีก็ทำให้สัตว์ป่าบางประเภทมีจำนวนลดลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสัตว์ป่า ณ บริเวณนี้ในระยะยาวอีกด้วย และบางประเภทก็อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม อย่างเช่นปลาดุกที่อยู่ในบ่อใกล้ๆ กับบริเวณที่เกิดระเบิดนั้นมีขนาดใหญ่โตราว 2 เมตร เป็นต้น
ทัวร์รัสเซีย
โดยสถานที่สุดสะพรึงที่มัชรูมทราเวลอยากแนะนำให้ท่านได้รู้จักในครั้งนี้ไม่ใช่สวนสนุกที่ไหน หรือเมืองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่แต่อย่างใด แต่ที่นี่คือเมืองพรีเพียต (Pripyat) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเมืองผีของเชอร์โนบิล เนื่องจากมันถูกทิ้งร้างไว้เกือบ 3 ทศวรรษ นับตั้งแต่เหตุการณ์แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลใกล้เมืองพรีเพียตที่อยู่ทางตอนเหนือของยูเครน เกิดการระเบิดขึ้นจากการทำงานผิดพลาดของวิศวกรและคนงาน ยังผลให้เกิดเถ้าถ่านและฝุ่นละอองของกัมมันตภาพรังสีปลิวฟุ้งกระจายไปทั่วท้องฟ้าทางตอนเหนือของสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันตก เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2529 ในเวลา 01.23 น. จนกระทั่งทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซียต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ และองค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน โดยมียอดของผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิดจำนวน 56 คน ส่วนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีในครั้งนี้อาจสูงถึง 4,000 คนเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น